milling cutting condition recommendattion
เงื่อนไขในกระบวนการกัดงาน
เงื่อนไขในกระบวนการกัดงาน
สรุปการหาความเร็วรอบและอัตราป้อนของงานกัดใน 6 ขั้นตอน
หาว่าชิ้นงานคือวัสดุอะไร
เลือกมีดกัดที่เหมาะสม
กำหนดรูปแบบการกัดงาน
หาค่าความเร็วตัด (Vc) จากตาราง
หาค่าอัตราป้อนต่อฟัน (Fz) จากตาราง
คำนวณหาค่าความเร็วรอบ (n) และอัตราป้อน (Ft)
วัสดุชิ้นงาน
มาตรฐาน ISO ได้แบ่งประเภทของวัสดุชิ้นงานไว้ 6 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่ม P คือ กลุ่มของเหล็กกล้า (Steel)
กลุ่ม M คือ กลุ่มของสแตนเลส (Stainless)
กลุ่ม K คือ กลุ่มของเหล็กหล่อ (Cast Iron)
กลุ่ม N คือ กลุ่มของโลหะนอกกลุ่มเหล็ก (Non-Ferrous Metal)
กลุ่ม S คือ กลุ่มของ Super-Alloys
กลุ่ม H คือ กลุ่มของเหล็กชุบแข็ง (Hardened Steel)
เลือกมีดกัด
เครื่องมือตัดสำหรับกระบวนการกัดงานมีหลายรูปแบบ โดยสิ่งที่จะต้องเลือก ได้แก่
รูปแบบของมีดกัด เช่น Flat endmill, Ball nose endmill, Bull nose endmill
วัสดุของมีดกัด เช่น HSS, Carbide
การ Coating มีดกัด เช่น TiN, TiCN, TiAlN
รูปทรงและรูปแบบของคมตัด
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมีดกัด (Cutter diameter, D)
จำนวนคมตัด (Effective teeth, z)
เลือกรูปแบบการกัด
การกำหนดรูปแบบการกัด เป็นหนึ่งในตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพของชิ้นงานโดยตรง เราจะเริ่มพิจารณาจากลักษณะของการกัด ได้แก่
ขั้นตอนการกัด เช่น Roughing, Semi-Finishing, Finishing
รูปแบบของการกัด เช่น Facing, Full slot cutting, Side cutting
ลักษณะการกัด เช่น Up cut, down cut
หาค่าความเร็วตัด
ค่าความเร็วตัด (Cutting Velocity, Vc) เป็นค่าที่ได้จากตารางข้อมูลทางด้านเทคนิคของผู้ผลิต โดยทั่วไปจะเป็นค่าแนะนำ ซึ่งเราสามารถเพิ่มหรือลดค่าความเร็วตัดได้ระดับหนึ่ง เพื่อให้ได้คุณภาพงานที่ดีขึ้นตามความเหมาะสม
ค่าความเร็วตัดจะเป็นค่าที่แตกต่างไปตามวัสดุมีดกัด วัสดุชิ้นงาน รูปแบบของมีดกัด และรูปแบบของการกัดงาน
หาค่าอัตราป้อนต่อฟัน
ค่าอัตราป้อนต่อฟัน (Feed per Tooth, Fz) เป็นค่าที่ได้จากตารางข้อมูลทางด้านเทคนิคของผู้ผลิต และจะเป็นค่าแนะนำเช่นกัน ซึ่งเราสามารถเพิ่มหรือลดค่าอัตราป้อนได้ระดับหนึ่ง เพื่อการปรับปรุง Cycle time หรือคุณภาพผิวของชิ้นงาน
ค่าอัตราป้อนต่อฟันจะเป็นค่าที่แตกต่างไปตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมีดกัด จำนวนคมตัด และรูปแบบของมุมคายเศษ
คำนวณความเร็วรอบและอัตราป้อน
ค่าความเร็วรอบ (Speed, n) และอัตราป้อน (Table Feed Rate, Ft) จะคำนวณหาได้จากความเร็วตัด (Vc) และอัตราป้อนต่อฟัน (Fz) ที่หามาได้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ โดยจะคำนวณจาก "สูตรการคำนวณความเร็วรอบและอัตราป้อน"
ตัวอย่างการคำนวน
กัดงานที่เป็น High alloyed steel ด้วยมีดกัด Carbide 4 ฟัน ขนาด Dia. 10 มม. โดยกัดแบบ Side cutting ลงลึกครั้งละ 15 มม. ระยะขยับ 1 มม.
เราจะได้ค่า Cutter diameter, D = 10
Number of teeth, z = 4
Depth of cut, ap = 15 หรือเท่ากับ 1.5 x D
Side step, ae = 1 หรือเท่ากับ 0.1 x D
จากตาราง Cutting speed recommendation จะหาค่าความเร็วตัด (Vc) ได้เท่ากับ 170 m/min และไปดูอัตราป้อนต่อฟันโดยใช้ค่าตัวแปร Fz6
จากตาราง Feed recommendation จะหาค่าอัตราป้อนต่อฟัน (Fz) ได้เท่ากับ 0.082 mm/tooth
นำมาคำนวณจะได้ค่าความเร็วรอบ (n) = 5,400 rpm และอัตราป้อน (Ft) = 1,770 mm/min
ตารางข้อมูลทางด้านเทคนิคของผู้ผลิตแต่ละราย อาจจะมีรูปแบบ ตัวแปรและสัญลักษณ์ที่แตกต่างกัน
แต่สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน เราจะต้องได้ข้อมูลอย่างน้อย 2 ค่า ได้แก่ ความเร็วตัดและอัตราป้อน มาเพื่อใช้ในการคำนวณเสมอ
ค่าที่คำนวณได้เป็นเพียงค่าแนะนำที่ใช้ในการทำงานช่วงเริ่มต้นเท่านั้น
นอกจากค่าเงื่อนไขกระบวนการตัดเฉือนในการกัดงาน ยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่ส่งผลต่อคุณภาพชิ้นงานและรอเราเข้าไปปรับปรุง แก้ไขอีกมาก