เราจะสามารถคำนวณหาค่าความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งในแบบงานได้อย่างไร ในกรณีที่มีการกำหนดสัญลักษณ์ GD&T Tolerance of Position มาในแบบงาน
วันนี้เราจะมาคุยเรื่องนี้กันครับ
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจความหมายของแบบงานกันก่อนครับ ว่าขนาดและสัญลักษณ์ที่กำหนดมาในแบบงาน มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง
ขนาด 65 และ 35 เป็นขนาดในอุดมคติ (Basic dimension) ที่ใช้ในการกำหนดตำแหน่งที่เราต้องการ
ผมจะเขียนแนวแกนอ้างอิงของตำแหน่งที่เราต้องการทางด้านขวามือนะครับ
ถัดไปคือการควบคุมตำแหน่งของแกนกลางรู โดยขอบเขตความคลาดเคลื่อนของ GD&T Tolerance of Position มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกขนาด ∅0.4
สมมุตินะครับว่า แกนกลางรูที่เกิดขึ้นจริง อยู่ที่ตำแหน่งจุดสีแดง
เราจะพบว่า ค่าความเบี่ยงเบนของตำแหน่ง (Position Devaition) จะมีค่าเท่ากับระยะห่างระหว่างตำแหน่งที่เกิดขึ้นจริง (Actual) กับตำแหน่งที่เราต้องการในอุดมคติ (Theory)
จากภาพ เราจะพบว่าค่าความเบี่ยงเบนมากที่สุดของตำแหน่ง (Maximum Deviation) ที่สามารถเกิดขึ้นได้จะมีค่าเท่ากับครึ่งหนึ่งของค่าความคลาดเคลื่อน (Tolerance) ที่กำหนดในแบบ
ดังนั้น ถ้าเราคำนวณหาค่าความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้นจริง และได้ค่าความเบี่ยงเบนไม่เกินค่า 0.2 เราก็จะตัดสินยอมรับตำแหน่งแกนของรูนี้ หรือสรุปว่าเป็นชิ้นงานดี
ถึงตอนนี้ เราลองมาดูกันครับว่า จะมีวิธีคำนวณหาค่าความเบี่ยงเบนของตำแหน่งที่เกิดขึ้นจริงได้อย่างไร
เรารู้ว่าตำแหน่งที่ต้องการ ได้จากแบบ และอยู่ที่พิกัด (65 , 35)
สมมุติว่าตำแหน่งแกนกลางของรูที่ผลิตออกมาได้ อยู่ที่พิกัด (65.1 , 35.15) ซึ่งเกิดความเบี่ยงเบนของตำแหน่งทั้งแนวแกน X และแนวแกน Y
พิจารณาการเกิดค่าความเบี่ยงเบนในแนวแกน X
เราจะพบว่าค่าความเบี่ยงเบนในแนวแกน X คือ ผลต่างระหว่างตำแหน่งที่เกิดขึ้นจริงกับตำแหน่งที่เราต้องการ
จากตัวอย่าง จะมีค่าเท่ากับตำแหน่งที่เกิดขึ้นจริง 65.1 ลบด้วยตำแหน่งที่ต้องการ 65
ส่วนในแนวแกน Y ก็จะเกิดค่าความเบี่ยงเบนเช่นกัน
จากตัวอย่าง ค่าความเบี่ยงเบนในแนวแกน Y มีค่าเท่ากับ 35.15 ลบ 35
และค่าความเบี่ยงเบนระหว่างตำแหน่ง 2 ตำแหน่งนี้
สามารถคำนวณได้จาก สูตรการหาด้านยาวของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากครับ
ดังนั้น ค่าที่สำคัญที่เราต้องหามาได้ก่อนการคำนวณ ก็คือค่าในอุดมคติ (Basic Dimension หรือ Theoretical Exacly Dimension) ที่กำหนดมาในแบบ และค่าของตำแหน่งที่เกิดขึ้นจริง (Actual)
สูตรการคำนวณหาค่าความเบี่ยงเบนของตำแหน่ง ก็คือ ค่าของรากที่ 2 ของผลต่างตำแหน่งในแนวแกน x ยกกำลัง 2 รวมกับผลต่างของตำแหน่งในแนวแกน Y ยกกำลัง 2
โดยค่าที่คำนวณได้จะถูกเปรียบเทียบกับค่าความคลาดเคลื่อนครับ
จากตัวอย่างเราคำนวณหาค่าความเบี่ยงเบนของตำแหน่งได้เท่ากับ 0.18 ซึ่ง มีค่าน้อยกว่า 0.2 ซึ่ง 0.2 นี้คือครึ่งหนึ่งของค่าความคลาดเคลื่อนของ GD&T Tolerance of Position ในแบบ
ดังนั้น ถือว่าตำแหน่งของแกนกลางรูนี้ผ่านครับ
ถ้าดูในรูปแบบของกราฟิก จะพบว่าตำแหน่งของรูที่เกิดขึ้นจริง
จะอยู่ในขอบเขตความคลาดเคลื่อนรูปร่างเป็นทรงกระบอกขนาด ∅0.4
ลองมาดูกันอีกซักตัวอย่างครับ
สมมุติว่าตำแหน่งแกนกลางรูที่ผลิตได้อยู่ที่ (64.85 , 34.85)
แกนกลางของรูนี้มีค่าความเบี่ยงเบนของตำแหน่งเท่าไหร่ และเราจะตัดสินยอมรับว่ารูนี้ผ่านข้อกำหนดในแบบหรือไม่
มาคำนวณกันครับ
ค่าความเบี่ยงเบนของตำแหน่ง มีค่าเท่ากับผลต่างระหว่างตำแหน่งที่เกิดขึ้นจริงกับตำแหน่งที่กำหนดในแบบ ของแนวแกน X ยกกำลัง 2 รวมกับผลต่างของตำแหน่งของแนวแกน Y ยกกำลัง 2
แล้วจึงเอาค่าที่คำนวณได้มาถอดสแควรูท 2
คำตอบที่ได้คือ 0.212 ซึ่งมีค่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของค่าความคลาดเคลื่อนในแบบ คือ 0.2
หรือตำแหน่งแกนกลางที่เกิดขึ้นนี้ อยู่นอกขอบเขตความคลาดเคลื่อนขนาด ∅0.4
ดังนั้นรูนี้เป็นของเสีย ...ไม่ผ่านครับ
และนี่ก็คือวิธีการคำนวณค่าความเบี่ยงเบนของตำแหน่ง ของแบบงานที่มีการกำหนดสัญลักษณ์ GD&T Tolerance of Position ที่มีขอบเขตความคลาดเคลื่อนเป็นทรงกระบอก
อย่าลืมนะครับว่า ค่าความเบี่ยงเบนสูงสุด (Maximum Devaition) ที่สามารถเกิดขึ้นได้ของ Tolerance of Position ต้องเอาค่าความคลาดเคลื่อน (Tolerance) ที่กำหนดในแบบงานไปหาร 2 ก่อนทำการวิเคราะห์ค่าที่คำนวณได้นะครับ