ครั้งหนึ่งที่ผมเคยเข้าอบรมในโรงงานเมื่อนานมาแล้ว มีผู้เข้าอบรมคนหนึ่งถามมาว่า “ในช่องของค่า Tolerance ของสัญลักษณ์ GD&T ความเป็นมุม ตัวเลข 0.2 คือ มุม 30 +0.2 องศาหรือ 30 ±0.2 องศาครับ”
เรื่องค่าความคลาดเคลื่อนของ GD&T มีแค่ค่า + อย่างเดียว ...ไม่มี ± ซึ่งผมได้เคยอธิบายไว้ในหลายๆ บทความก่อนหน้านี้
ส่วนข้อเข้าใจผิดเรื่อง GD&T ในคำถามนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่เจอบ่อย ...เมื่อเราพูดคำว่า “มุม” เราจะนึกถึงหน่วยอะไรครับ … “องศา” ใช่ไหมครับ
ดังนั้นถ้าพูดถึง GD&T Angularity หรือ “ความเป็นมุม” ...ก็ไม่น่าแปลกใจหรอกครับที่ส่วนมากจะนึกถึงมุมที่มีหน่วยเป็นองศา!!
แต่จริงๆ แล้ว ค่า Tolerance ของความเป็นมุม คือ “ระยะห่างระหว่างขอบเขตความคลาดเคลื่อน” โดยขอบเขตนั้นจัดวาง “ทำมุมตามค่าในอุดมคติ” ที่ได้กำหนดในแบบงาน
ดูภาพประกอบกันครับ ทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเยอะ
ระหว่าง GD&T ความเป็นมุม (Angularity) และขนาดมุม (Angular dimension) นอกจากเรื่องรูปร่างของขอบเขตความคลาดเคลื่อนที่ไม่เหมือนกันแล้ว ...ยังมีอะไรที่แตกต่างกันอีกบ้าง
ความแตกต่างอีกอย่างที่สำคัญระหว่าง GD&T Angularity และ Angular dimension ก็คือสิ่งที่ถูกควบคุมครับ
โดยที่ GD&T Angularity ควบคุม พื้นผิว (Feature) ส่วน Angular dimension ควบคุมระนาบสัมผัสนอกสุด (Outer tangent plane)
ต่อกันอีกซักนิดนะครับ
อยากได้การควบคุมเหมือนการกำหนดขนาดมุม (Angular dimension) แต่จะ GD&T ความเป็นมุม (Angularity) ทำได้ไหม??
คำตอบคือ ….ได้!!!
จะทำไง เมื่อขนาดมุมคุมระนาบสัมผัสนอกสุด (Outer tangent plane) แต่ GD&T Angularity ควบคุมพื้นผิว (Feature)??
คำตอบ ...ก็ใช้สัญลักษณ์ปรับปรุงสิครับ ใช้ Modifier Ⓣ (Tangent plane)
แล้วจะทำไง เมื่อขนาดมุมมีขอบเขตความคลาดเคลื่อนเป็นรูปลิ่มปลายแหลม แต่ GD&T มีขอบเขตเป็นระนาบคู่ขนาน??
คำตอบ ...ก็เขียนกำหนดรูปร่างขอบเขตความคลาดเคลื่อนเองเลยสิครับ (Uni-form tolerance)
ครับตอนนี้ทราบแล้วใช้ไหมครับว่า GD&T สามารถเขียนขนาดแทนขนาดด้านมิติทั่วไปได้
แต่ในทางปฏิบัติ ไม่จำเป็นต้องทำถึงขนาดนี้ เพราะหลักการข้อหนึ่งของผู้ออกแบบเขียนแบบ คือ “กำหนดขนาดให้ตรงฟังก์ชั่นการใช้งาน โดยใช้ขนาดและสัญลักษณ์ที่เรียบง่ายที่สุด”