เวลาอบรม ผมมักเจอคำถามแนวๆ ที่ว่า “ค่า Flatness ของดาตั้ม A มีค่า ± เท่าไหร่” ... ซึ่คำถามนี้ ผิดตรงที่ตรงการตั้งคำถามครับ!!
ค่าความคลาดเคลื่อนของขนาดด้านมิติ (Size Tolerance) อาจจะมีความเบี่ยงเบน (Deviation) ทั้งด้านบวกและลบ แต่ค่าความคลาดเคลื่อนของขนาด้านรูปทรง (Geometry Tolerance) จะมีความเบี่ยงเบนเป็นบวกอย่างเดียวเท่านั้น !!
ดังนั้น เราควรจะถามว่า “ค่า Flatness ของดาตั้ม A มีค่าเท่าไหร่?”
ซึ่งคำตอบก็ตามภาพครับ … 0.2
เมื่อค่าความคลาดเคลื่อนของขนาดด้านรูปร่างรูปทรง (Geometry Tolerance) ไม่มีค่าติดลบ จะกำหนดเป็นค่าบวกได้อย่างเดียวเท่านั้น ...แล้วผลการตรวจวัดหละ เป็นลบได้ไหรือไม่
ตัวอย่างในแบบงาน ดาตั้ม A มีการกำหนดค่า Flatness ไว้ที่ 0.2
ชิ้นงาน A และชิ้นงานงาน B ที่ผลิตมา เกิด Form error ดังรูป ...ผิวดาตั้มของชิ้นงาน A เว้าลงไป ส่วนผิวดาตั้มของชิ้นงาน B นูนขึ้นมา ...พอเป็นแบบนี้แล้ว หลายๆ คนคงมีคำถามขึ้นมาในใจนะครับว่า
"ชิ้นงาน A และ B มีคุณภาพเท่ากันหรือไม่ และจะเกิดปัญหาในการตรวจวัดหรือการประกอบหรือไม่"
เมื่อ GD&T มีค่า Deviation เป็นบวกเสมอ และไม่ว่าผิวงานจะนูน (Convex) หรือเว้า (Concave) ก็จะตรวจสอบค่า Flatness ได้เท่ากับ 0.1 เท่ากัน
ซึ่งส่งผลกระทบจากการประกอบแน่นอน เพราะถ้าผิวที่ว่านั้นเป็นดาตั้มอ้างอิง เพราะเวลาประกอบผิวที่เว้าจะไม่กระดก ส่วนผิวที่นูนจะกระดก
ซึ่งลักษณะที่เมื่อวางดาตั้มอ้างอิงลงบนโต๊ะระดับหรือ Fixture แล้วเกิดการกระดกนับได้ว่าเป็นปัญหาระดับชาติของแผนก QC เลยก็ว่าได้
แล้วถ้าไม่ต้องการให้เกิดผิวนูนจะต้องทำอย่างไร??
ต้องมีการแก้แบบงานโดยใส่เงื่อนไขหรือสัญลักษณ์พิเศษในแบบงาน ถ้าเป็นข้อความก็เขียนความต้องการใน Note เลยครับ เช่น “Convex surface does not allow”
ถ้าใช้สัญลักษณ์ก็ระบุตัวย่อ “NC” หลังค่า Tolerance ในกรอบสัญลักษณ์ GD&T ความราบ ซึ่ง NC ย่อมาจาก Non Convex
สุดท้าย ถ้าแก้แบบลูกค้าไม่ได้ ก็อาจจะเขียนแบบขึ้นมาใหม่เพื่อใช้กันภายในหรือ ทำเอกสารควบคุมเพื่อระบุเงื่อนไขการผลิตว่าผิวนั้นห้ามนูน