เราทราบความแตกต่างระหว่าง "เส้นผ่านศูนย์กลาง" และ "GD&T ความกลม" หรือไม่
ผมขอเริ่มต้นที่คำถามดีกว่าครับ
ถ้าชิ้นงานที่ผลิตได้จริง วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) ได้ค่า 16.01, 16.02, 16.01, 16.02 ตามที่ปรากฏในรูป ชิ้นงานนี้ มีค่าความกลม (Roundness) ผ่านตามข้อกำหนดในแบบงานที่ให้มาหรือไม่
ผมเชื่อว่าทุกท่านมีคำตอบ โดยคำตอบจะอางอิงกับประสบการณ์ทำงานที่เรามี
ถ้าตอบโดยอ้างอิงโจทย์ที่ให้มา จะได้ว่า ...โจทย์ให้ข้อมูลมาไม่ครบครับ ค่าที่วัดได้คือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) ซึ่งเป็น Actual Local Size ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับค่าความกลม (Roundness) ซึ่งเป็นเป็นสภาวะ Best fit เลย
ถ้าตอบโดยอ้างอิงแนวการทำงานของ QC จะได้ว่า ...ยังไม่ทราบครับ ต้องรอผลการวัดค่าความกลมของชิ้นงานชิ้นนี้ก่อน
ถ้าตอบโดยอ้างอิงแนวการทำงานของ Production จะได้ว่า ...มีแนวโน้มว่าผ่านแม้ไม่มีค่าวัดครับ เพราะกระบวนการผลิตที่สามารถคุมขนาดได้ในช่วง 16.01 - 16.02 หรือ 10 ไมครอน จะเกิดค่าความกลมจากกระบวนการผลิตนี้มีโอกาสสูงมากที่จะคุมค่าความกลมได้ 50 ไมครอนได้สบายๆ
และถ้าตอบในมุมมองลูกค้า ...ค่าจะเป็นเท่าไหร่ไม่สนใจ ถ้าประกอบแล้วใช้งานไม่ได้ ขอคืนยกล๊อตนะ (หยอกๆ ครับ)
อธิบายด้วยตัวอย่างภาพด้านล่างครับว่า เส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) ไม่เกี่ยวข้องกับความกลม (Roundness)
ค่าความเบี่ยงเบนของความกลมเป็นศูนย์ แต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมีค่า 16.2 …. งานนี้ Reject
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมีค่า 16.0 เท่ากันทุกแนว แต่ค่าความเบี่ยงเบนของความกลมเกิน 0.05 …. งานนี้ก็ Reject
ดังนั้น เส้นผ่านศูนย์กลาง และ ความกลม จึงคิด วิเคราะห์และตรวจอบแยกส่่วนกัน
ปล. กรณีที่ชิ้นงานมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากันทุกแนว แต่ไม่กลมจะเกิดกับชิ้นงานที่มี Lube เป็นเลขคี่เท่านั้น