เราเคยมีประสบการณ์นี้ไหมครับ ที่ต้องมาแก้ไขขนาดของชิ้นส่วนที่ "ประกอบไม่ได้” บางชิ้นส่วน เพื่อที่จะส่งงานลูกค้าได้ทันเวลา
แต่ชิ้นส่วนที่กูกแก้ไขเหล่านั้น ผ่านการตรวจสอบจากฝ่ายควบคุมคุณภาพมาแล้ว และผลการตรวจสอบ คือ “Accept”
เคยไหมครับ ที่คำถามหนึ่งแว๊บขึ้นมาในหัว “ถ้าชิ้นส่วนตรวจวัดแล้วผ่าน ทำไมยังประกอบไม่เข้า”
คำตอบหนึ่งก็คือ ชิ้นงานไม่ได้มีการวิเคราะห์ Stack Up Tolerance ก่อนทำการผลิตจริง
… แล้ว Stack Up Tolerance มันคืออะไร และมีความสำคัญต่อการผลิตอย่างไร
Tolerance Stack Up Analysis หรือการวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสม เป็น "ระเบียบวิธีการศึกษา" ค่าพิกัด "ความคลาดเคลื่อน" (Tolerance Study) วิธีหนึ่ง
Tolerance Stack Up Analysis เป็นการ “ตั้งสมมุติฐาน” และ “เงื่อนไข” เพื่อวิเคราะห์ “ความเป็นไปได้” ของ “ขนาดรวมทั้งหมด” ที่เกิดจากการ “ประกอบชิ้นส่วน” แต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน
Tolerance Stack Up Analysis มีจุดประสงค์เพื่อ “ลดความเสี่ยง” ในกระบวนการ "ประกอบ" หรือผลลัพธ์ที่เกิดจากใช้งานของชิ้นส่วนนั้นๆ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตาม "ระดับความเชื่อมั่น" ที่ต้องการ
Tolerance Stack Up Analysis มีจุดประสงค์หลัก คือ ต้องการทำให้ "ต้นทุน" ในการผลิตที่ "ต่ำที่สุด" ด้วยการวิเคราะห์เพื่อ “ปรับแต่ง” ค่าพิกัดความคลาดเคลื่อนให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีการผลิต กระบวนการทำงาน วิธีการประกอบ รวมทั้งเงื่อนไขที่มีการควบคุมอื่นๆ
Tolerance Stack Up Analysis ใช้ได้กับอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนจำนวนมาก (Mass Production) ที่ต้องมีการ “สุ่มประกอบ” ชิ้นส่วน "มากว่า 2 ชิ้น" เข้าด้วยกัน โดยที่แบบงานแต่ละชิ้น "มีสัญลักษณ์ GD&T" ควบคุมอยู่ เช่น อุตสาหกรรมการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนอากาศยาน ชิ้นส่วนการแพทย์ อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน เป็นต้น
Tolerance Stack Up Analysis ใช้ได้กับอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จำนวนไม่มาก (Batch Production) แต่ต้องการ "ค่าความแม่นยำสูง" หรือความคลาดเคลื่อนหลังจากการประกอบชิ้นส่วนทั้งหมดที่ต้องการ "ค่าความคลาดเคลื่อนน้อย" เช่น เครื่องจักรอัตโนมัติ แกนกล อุปกรณ์จิ๊กและฟิกเจอร์ เป็นต้น
การวิเคราะห์ Tolerance Stack Up Analysis สามารถทำได้ตั้งแต่การคำนวณด้วย ”เครื่องคิดเลข” การสร้าง Template และคำนวณด้วย “Spreadsheet” (MS Excel หรือ Google Sheet) หรือการคำนวณด้วย “ซอร์ฟแวร์เฉพาะทาง” สำหรับงาน Tolerance Analysis
และไม่ว่าจะเป็นการคำนวณด้วยวิธีไหน สิ่งแรกที่เราต้องทำความเข้าใจคือ การวิเคราะห์ขนาดและ GD&T ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของชิ้นงาน เพราะการวิเคราะห์ที่ไม่ถูกต้องจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องเช่นกัน
ถ้าเรามีความจำเป็นต้องใช้การวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสมในการทำงาน ทาง NEXTPERT ก็มีการบริการในหลักสูตรอบรมนี้ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์ https://www.nextpert.co.th/training-course/tolerance-stack-up