ค่าความคลาดเคลื่อนจากมาตรฐานที่ถูกกำหนดลงไปใน Title Block เป็นมาตรฐานของค่าความคลาดเคลื่อนที่มักจะถูกอ้างอิงถึงบ่อยๆ เช่น มาตรฐาน ISO 2768, DIN 7168 หรือ JIS B0409 เป็นต้น
ข้อกำหนดของการใช้มาตรฐาน ISO 2768 คือ ชิ้นงานจะต้องถูกผลิตด้วยกรรมวิธีการตัดเฉือน (Chip Removal Process) เท่านั้น โดยมาตรฐานจะตารางแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มของค่าความคลาดเคลื่อนทั่วไปของขนาดด้านมิติ (General Tolerance for Size Dimensions) และ กลุ่มของค่าความคลาดเคลื่อนทั่วไปของรูปทรง (General Tolerance for Geometry)
กลุ่มของค่าความคลาดเคลื่อนทั่วไปของขนาดด้านมิติ มี 3 ตาราง
ตารางที่ 1 เป็นตารางของ Linear dimension, Location dimension, Diameter และ Radius
ตารางที่ 2 เป็นตารางของ Fillet และ Chamfer
ตารางที่ 3 เป็นตารางของ Angular dimension
กลุ่มของค่าความคลาดเคลื่อนทั่วไปของรูปทรง มี 4 ตาราง
ตารางที่ 1 เป็นตารางของ Straightness และ Flatness
ตารางที่ 2 เป็นตารางของ Perpendicularity
ตารางที่ 3 เป็นตารางของ Symmetry
ตารางที่ 4 เป็นตารางของ Circular Runout
Tolerance Class ในตารางมีให้เลือกตั้งแต่ค่าละเอียดไปจนถึงค่าหยาบ ซึ่งจะเลือกใช้ Tolerance Class ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์เงื่อนไขความต้องการในการประกอบใช้งานว่าชิ้นงานนั้นต้องการค่าความแม่นยำเที่ยงตรงที่เป็นมาตรฐานสูงแค่ไหนจากผู้ออกแบบ และถ้าผู้ออกแบบต้องการกำหนดค่า Tolerance ที่มีความแตกต่างกับ General Tolerance ก็จะต้องมีการเขียนค่าที่ต้องการลงในแบบงานซึ่งเรียกว่า Define Tolerance
กำหนดค่า General Tolerance จากมาตรฐานที่ถูกต้องจะต้องมีการกำหนด Tolerance Class ด้วยเสมอ เช่น ISO 2768-mH โดย m หมายถึง Tolerance Class ของขนาดด้านมิติ และ H หมายถึง Tolerance Class ด้านรูปทรง
ลิงก์ด้านล่างเป็นตัวอย่างของตาราง General Tolerance ของชิ้นงานที่ผลิตด้วยกรรมวิธีการตัดเฉือน (Chip Removal Process) ตามมาตรฐาน ISO 2768