เราจะสามารถผลิตและตรวจสอบชิ้นงานได้หรือไม่? ถ้าเราไม่เข้าใจเรื่องของเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน
แล้วเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนคืออะไร? เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน คือ ช่วงของความผิดพลาดมากสุดและน้อยสุดในการกระบวนการทำงานตามข้อกำหนดที่สามารถยอมรับได้ ซึ่งจะต้องเป็นค่าที่ผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของกระบวนการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อพูดถึงเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเราจะมีสิ่งให้วิเคราะห์อยู่ 3 เรื่อง
รูปร่างรูปทรงของขอบเขตความคลาดเคลื่อน (Shape of tolerance zone) มีลักษณะอย่างไร? คำตอบคือ วิเคราะห์จากลักษณะพื้นฐานของพื้นผิว (Feature) หรือ Feature of Size ที่ถูกควบคุมด้วยนาดหรือสัญลักษณ์ GD&T
ขนาดของขอบเขตความคลาดเคลื่อน (Size of tolerance zone) มีค่าเท่าไหร่? คำตอบคือ วิเคราะห์ได้จากขนาดด้านมิติหรือค่าในกรอบสัญลักษณ์ GD&T
รูปแบบการจัดวางตำแหน่งของขอบเขตความคลาดเคลื่อน (Placement of tolerance zone) เป็นอย่างไร? คำตอบคือ วิเคราะห์จากดาตั้มอ้างอิงหรือศูนย์ของชิ้นงาน
รูปร่างรูปทรงของขอบเขตความคลาดเคลื่อนอาจมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งจาก 17 รูปแบบ ต่อไปนี้
Circular shape
Cylindrical shape
Spherical shape
Square shape
Conical shape
2 parallel lines
2 parallel planes
2 non-parallel planes
2 Concentric arcs
2 concentric circles
2 concentric cylinders
2 offset profiles - 2D lines
2 offset profiles - 3D lines
2 offset profiles - surface
Crescent Shape
Zero tolerance
Uniform
การวิเคราะห์เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการแปลความหมายแบบงานและสัญลักษณ์ GD&T เพื่อออกแบบกลยุทธ์การผลิตและการตรวจสอบ การแปลความหมายเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนผิดจะส่งผลให้เกณฑ์ในการตัดสินใจด้านขนาดและรูปทรงผิดพลาดตามไปด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ชิ้นงานที่ผลิตออกมาไม่ได้คุณภาพตามข้อกำหนดในแบบงาน