บทความที่แล้ว เราได้เห็นถึงความความต้องการในการพิจารณาความเรียบผิว (Surface Roughness) ซึ่งเป็นเรื่องของการหาจุดร่วมที่เหมาะสมระหว่างอายุการใช้งานกับการผลิต
ดังนั้น ถ้าเราพิจารณาดูดีๆ จะพบว่า สัญลักษณ์ความเรียบผิวไม่ได้มีแค่ค่าพารามิเตอร์ของคุณภาพผิวที่ต้องการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีการบอกเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตด้วย เพื่อให้ผู้ผลิตใช้เป็นแนวทางในการออกแบบกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด ในขณะที่ชิ้นงานก็ยังคงคุณภาพผิวตามที่ผู้ออกแบบกำหนด
สัญลักษณ์ความเรียบผิวจะมีการกำหนดแนวทางการผลิตเบื้องต้นไว้จากผู้ออกแบบเบื้องต้นไว้ 3 แนวทาง คือ
การกำหนดสัญลักษณ์ความเรียบผิวที่เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตสามารถกำหนดกระบวนการผลิตได้เอง
สัญลักษณ์ความเรียบผิวที่กำหนดว่าผิวของชิ้นงานจะต้องถูกแปรรูปด้วยวิธีการตัดเฉือนแบบมีเศษตัดเท่านั้น (Chip removing process)
สัญลักษณ์ความเรียบผิวที่กำหนดว่าผิวของชิ้นงานจะต้องไม่ผ่านกระบวนการตัดเฉือนหรือเป็นผิวงานดิบจากกระบวนการแปรรูปขั้นต้น เช่น การหล่อ (Casting) การรีด (Rolling) การทุบขึ้นรูป (Forging) เป็นต้น
ส่วนการจะเลือกและออกแบบกระบวนการผลิตยังไง เพื่อให้ได้ทั้งคุณภาพที่ดีและได้ทั้งต้นทุนที่ต่ำ จะมีองค์ประกอบมากมาย ซึ่งจะต้องถูกคิด วิเคราะห์ ออกแบบและกำหนดกลยุทธ์การทำงานเป็นคราวๆ ไป จะมากหรือน้อย จะยากหรือง่าย ก็ขึ้นอยู่กับทรัพยากร ความรู้และความเชี่ยวชาญที่เรามี