COMPOSITE CONTROL

การควบคุมแบบร่วม

การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) และการควบคุมแบบร่วม (Composite Control)

การควบคุมรูปร่างรูปทรง (Geometry Control) แต่ละประเภทจะสามารถกำหนดสัญลักษณ์ GD&T เพื่อใช้ในการควบคุมพื้นผิว (Feature) ระนาบกลาง (Center Plane) แกนกลาง (Center Line) หรือจุดกึ่งกลาง (Center Point) ในแต่ละสัญลักษณ์ได้เพียง 1 ครั้งเมื่อเทียบกับกรอบดาตั้มอ้างอิง 1 กรอบ ยกเว้นการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) การควบคุมรูปโครงร่างของเส้นใดๆ (Profile of a Line) และการควบคุมรูปโครงร่างของพื้นผิวใดๆ (Profile of a Surface) ที่ใช้ควบคุมกลุ่มของพื้นผิว (Features) กลุ่มของระนาบกลาง (Center Planes) กลุ่มของแกนกลาง (Center Lines) และกลุ่มของจุดกึ่งกลาง (Center Points) โดยจะมีลักษณะของการควบคุม 2 รูปแบบ คือ การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) และการควบคุมแบบร่วม (Composite Control)

การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) เป็นการควบคุมให้สิ่งที่ต้องการควบคุมจัดวางอยู่ในตำแหน่งที่อ้างอิงตามกรอบดาตั้มอ้างอิง (Feature Control Frame) โดยจะเป็นการควบคุมระดับของความเป็นอิสระ (Degree of Freedom) ของการเคลื่อนที่ของกรอบดาตั้มอ้างอิงทั้งด้านบนและด้านล่าง เป็นการควบคุมทั้งระดับของการขยับ (Translational Freedom) และระดับของการหมุน (Rotational Freedom) ดังนั้นกลุ่มของสิ่งที่ถูกควบคุมจึงมีการจัดวางทิศทางและมีการจัดวางตำแหน่งที่แน่นอนเมื่อเทียบกับดาตั้มอ้างอิง โดยเราจะเรียกการจัดวางในลักษณะนี้ว่า Pattern-Locating Tolerance Zone Framework หรือ PLTZF ลักษณะการกำหนดสัญลักษณ์การควบคุมแบบเดี่ยว แสดงในภาพที่ 8-1

ภาพที่ 8-1 สัญลักษณ์การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control)

การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) เป็นการควบคุมให้สิ่งที่ต้องการควบคุมจัดวางอยู่ในตำแหน่งที่อ้างอิงตามกรอบดาตั้มอ้างอิง (Feature Control Frame) โดยจะเป็นการควบคุมระดับของความเป็นอิสระ (Degree of Freedom) ของการเคลื่อนที่ของกรอบดาตั้มอ้างอิงด้านล่าง เฉพาะระดับของการหมุน (Rotational Freedom) เท่านั้น ดังนั้นกลุ่มของสิ่งที่ถูกควบคุมจึงมีการจัดวางทิศทางเมื่อเทียบกับดาตั้มอ้างอิงเพียงอย่างเดียว โดยเราจะเรียกการจัดวางในลักษณะนี้ว่า Feature-Relating Tolerance Zone Framework หรือ FRTZF ลักษณะการกำหนดสัญลักษณ์การควบคุมแบบเดี่ยว แสดงในภาพที่ 8-2

ภาพที่ 8-2 สัญลักษณ์การควบคุมแบบร่วม (Composite Control)

การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ของความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง

การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ของความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) เป็นการควบคุมให้กลุ่มของระนาบกลาง (Center Planes) กลุ่มของแกนกลาง (Center Lines) และกลุ่มของจุดกึ่งกลาง (Center Points) จัดวางอยู่ในตำแหน่งที่อ้างอิงตามกรอบดาตั้มอ้างอิง (Feature Control Frame) โดยจะเป็นการควบคุมระดับของความเป็นอิสระ (Degree of Freedom) ของการเคลื่อนที่ของทั้งกรอบดาตั้มอ้างอิงทั้งด้านบนและด้านล่าง ซึ่งจะเป็นการควบคุมทั้งระดับของการขยับ (Translational Freedom) และระดับของการหมุน (Rotational Freedom)

ภาพที่ 8-3 การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ของความเคลื่อนของตำแหน่ง

พิจารณาการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) ของรู Ø7 จำนวน 6 รู ของแบบงานในภาพที่ 8-3 พบว่ามีลักษณะของการควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) โดยมีลักษณะของการควบคุมดังนี้

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.5 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน X การขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ส่วนกลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.2 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ภาพที่ 8-4 การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ของความเคลื่อนของตำแหน่ง

พิจารณาการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) ของรู Ø6.5 จำนวน 4 รู ของแบบงานในภาพที่ 8-4 พบว่ามีลักษณะของการควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) โดยมีลักษณะของการควบคุมดังนี้

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.5 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน X การขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ส่วนกลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.2 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ภาพที่ 8-5 การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ของความเคลื่อนของตำแหน่ง

พิจารณาการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) ของรู Ø6 จำนวน 3 รู ของแบบงานในภาพที่ 8-5 พบว่ามีลักษณะของการควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) โดยมีลักษณะของการควบคุมดังนี้

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.5 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน X การขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ส่วนกลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.2 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ภาพที่ 8-6 เป็นการสรุปการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ของการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) ของรูในลักษณะที่เป็นการควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) 

ภาพที่ 8-6 การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ของความเคลื่อนของตำแหน่ง

ภาพที่ 8-7 ตัวอย่างการวิเคราะห์การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ของความเคลื่อนของตำแหน่ง

ภาพที่ 8-7 เป็นแบบงานตัวอย่าง ผลการตรวจสอบขนาดในสภาวะการประกอบที่แท้จริง (Actual Mating Envelope, AME) และพิกัดตำแหน่งของรูแต่ละรูที่เกิดขึ้นจริง (Actual Position) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ซึ่งตัวอย่างการวิเคราะห์การควบคุมความเบี่ยงเบนของตำแหน่ง จะได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้

ขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ของการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) แบบการควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ที่อ้างอิงกับระนาบดาตั้ม A และระนาบดาตั้ม B จะมีความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในแนวแกน X ทำให้สามารถเกิดการเปลี่ยนตำแหน่งของดาตั้ม (Datum Displacement) ได้ ดังนั้นเมื่อวิเคราะห์การขยับของดาตั้ม (Datum Translation) ที่เหมาะสม โดยกำหนดให้เกิดการขยับของดาตั้มในทิศทาง X = -0.040 จะได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้

การขยับของดาตั้มอ้างอิง (Datum Translation / Datum Shift) ในระนาบ 2 มิติ สามารถคำนวณได้จาก

เมื่อ

X และ Y คือ พิกัด (X,Y) เดิมก่อนเกิดการขยับดาตั้มอ้างอิงในระนาบ X-Y

X' และ Y' คือ พิกัด (X,Y) ใหม่หลังเกิดการขยับดาตั้มอ้างอิงในระนาบ X-Y

TX และ TY คือ ระยะขยับในแนวแกน X และในแนวแกน Y ตามลำดับ 

การหมุนของดาตั้มอ้างอิง (Datum Rotation) ในระนาบ 2 มิติ สามารถคำนวณได้จาก

เมื่อ

X และ Y คือ พิกัด (X,Y) เดิมก่อนเกิดการขยับดาตั้มอ้างอิงในระนาบ X-Y

X' และ Y' คือ พิกัด (X,Y) ใหม่หลังเกิดการขยับดาตั้มอ้างอิงในระนาบ X-Y

Ө คือ มุมที่เกิดจากหมุนดาตั้มดาตั้มอ้างอิงรอบจุดกำเนิด (Origin) ในระนาบ X-Y 

การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง

การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) เป็นการควบคุมให้กลุ่มของระนาบกลาง (Center Planes) กลุ่มของแกนกลาง (Center Lines) และกลุ่มของจุดกึ่งกลาง (Center Points) จัดวางอยู่ในตำแหน่งที่อ้างอิงตามกรอบดาตั้มอ้างอิง (Feature Control Frame) โดยจะเป็นการควบคุมระดับของความเป็นอิสระ (Degree of Freedom) ของการเคลื่อนที่ของกรอบดาตั้มอ้างอิงด้านบน เป็นการควบคุมทั้งระดับของการขยับ (Translational Freedom) และระดับของการหมุน (Rotational Freedom) ส่วนการควบคุมระดับของความเป็นอิสระ (Degree of Freedom) ของการเคลื่อนที่ของกรอบดาตั้มอ้างอิงด้านล่าง จะควบคุมเฉพาะระดับของการหมุน (Rotational Freedom) เท่านั้น

ภาพที่ 8-8 การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของความเคลื่อนของตำแหน่ง

พิจารณาการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) ของรู Ø7 จำนวน 6 รู ของแบบงานในภาพที่ 8-8 พบว่ามีลักษณะของการควบคุมแบบร่วม (Composite Control) โดยมีลักษณะของการควบคุมดังนี้

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.5 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน X การขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ส่วนกลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.2 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ภาพที่ 8-9 การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของความเคลื่อนของตำแหน่ง

พิจารณาการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) ของรู Ø7 จำนวน 6 รู ของแบบงานในภาพที่ 8-9 พบว่ามีลักษณะของการควบคุมแบบร่วม (Composite Control) โดยมีลักษณะของการควบคุมดังนี้

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.5 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน X การขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ส่วนกลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.2 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการหมุนรอบแกน u และการหมุนรอบแกน v

ภาพที่ 8-10 การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของความเคลื่อนของตำแหน่ง

พิจารณาการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) ของรู Ø6.5 จำนวน 4 รู ของแบบงานในภาพที่ 8-10 พบว่ามีลักษณะของการควบคุมแบบร่วม (Composite Control) โดยมีลักษณะของการควบคุมดังนี้

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.5 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน X การขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ส่วนกลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.2 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ภาพที่ 8-11 การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของความเคลื่อนของตำแหน่ง

พิจารณาการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) ของรู Ø6.5 จำนวน 4 รู ของแบบงานในภาพที่ 8-11 พบว่ามีลักษณะของการควบคุมแบบร่วม (Composite Control) โดยมีลักษณะของการควบคุมดังนี้

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.5 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน X การขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ส่วนกลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.2 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการหมุนรอบแกน u และการหมุนรอบแกน v

ภาพที่ 8-12 การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของความเคลื่อนของตำแหน่ง

พิจารณาการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) ของรู Ø6 จำนวน 3 รู ของแบบงานในภาพที่ 8-12 พบว่ามีลักษณะของการควบคุมแบบร่วม (Composite Control) โดยมีลักษณะของการควบคุมดังนี้

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.5 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน X การขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ส่วนกลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.2 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ภาพที่ 8-13 การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของความเคลื่อนของตำแหน่ง

พิจารณาการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) ของรู Ø6 จำนวน 3 รู ของแบบงานในภาพที่ 8-13 พบว่ามีลักษณะของการควบคุมแบบร่วม (Composite Control) โดยมีลักษณะของการควบคุมดังนี้

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.5 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน X การขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

ส่วนกลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด Ø0.2 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการหมุนรอบแกน u และการหมุนรอบแกน v

ภาพที่ 8-14 เป็นการสรุปการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ของการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) ของรูในลักษณะที่เป็นการควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ที่กรอบดาตั้มอ้างอิงด้านล่างมีการควบคุมจากดาตั้มอ้างอิง 2 อันดับ

ภาพที่ 8-14 การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของความเคลื่อนของตำแหน่ง

ภาพที่ 8-15 เป็นการสรุปการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ของการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) ของรูในลักษณะที่เป็นการควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ที่กรอบดาตั้มอ้างอิงด้านล่างมีการควบคุมจากดาตั้มอ้างอิง 1 อันดับ

ภาพที่ 8-16 ตัวอย่างการวิเคราะห์การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของความเคลื่อนของตำแหน่ง

ภาพที่ 8-16 เป็นแบบงานตัวอย่าง ผลการตรวจสอบขนาดในสภาวะการประกอบที่แท้จริง (Actual Mating Envelope, AME) และพิกัดตำแหน่งของรูแต่ละรูที่เกิดขึ้นจริง (Actual Position) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ซึ่งตัวอย่างการวิเคราะห์การควบคุมความเบี่ยงเบนของตำแหน่ง จะได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้

ขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ของการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) แบบการควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ที่อ้างอิงกับระนาบดาตั้ม A และระนาบดาตั้ม B จะมีความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในแนวแกน X ในแนวแกน Y และแนวการหมุนรอบแกน w ทำให้สามารถเกิดการเปลี่ยนตำแหน่งของดาตั้ม (Datum Displacement) ได้ ดังนั้นเมื่อวิเคราะห์การหมุนของดาตั้ม (Datum Rotation) ที่เหมาะสม โดยกำหนดให้จุดหมุนอยู่ที่พิกัดตำแหน่ง (95,35) และเกิดการหมุนของดาตั้มเป็นมุม  = -0.1 องศา จะได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้

การขยับของดาตั้มอ้างอิง (Datum Translation / Datum Shift) ในระนาบ 2 มิติ สามารถคำนวณได้จาก

เมื่อ

X และ Y คือ พิกัด (X,Y) เดิมก่อนเกิดการขยับดาตั้มอ้างอิงในระนาบ X-Y

X' และ Y' คือ พิกัด (X,Y) ใหม่หลังเกิดการขยับดาตั้มอ้างอิงในระนาบ X-Y

TX และ TY คือ ระยะขยับในแนวแกน X และในแนวแกน Y ตามลำดับ 

การหมุนของดาตั้มอ้างอิง (Datum Rotation) ในระนาบ 2 มิติ สามารถคำนวณได้จาก

เมื่อ

X และ Y คือ พิกัด (X,Y) เดิมก่อนเกิดการขยับดาตั้มอ้างอิงในระนาบ X-Y

X' และ Y' คือ พิกัด (X,Y) ใหม่หลังเกิดการขยับดาตั้มอ้างอิงในระนาบ X-Y

Ө คือ มุมที่เกิดจากหมุนดาตั้มดาตั้มอ้างอิงรอบจุดกำเนิด (Origin) ในระนาบ X-Y 

การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ของรูปโครงร่างใดๆ

การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ของรูปโครงร่างใดๆ (Profile of a Surface) เป็นการควบคุมให้กลุ่มของพื้นผิว (Features) จัดวางอยู่ในตำแหน่งที่อ้างอิงตามกรอบดาตั้มอ้างอิง (Feature Control Frame) โดยจะเป็นการควบคุมระดับของความเป็นอิสระ (Degree of Freedom) ของการเคลื่อนที่ของทั้งกรอบดาตั้มอ้างอิงทั้งด้านบนและด้านล่าง จะเป็นการควบคุมทั้งระดับของการขยับ (Translational Freedom) และระดับของการหมุน (Rotational Freedom)

ภาพที่ 8-17 การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ของรูปโครงร่างของพื้นผิวใดๆ

พิจารณาการควบคุมรูปโครงร่างของพื้นผิวใดๆ (Profile of a Surface) ของพื้นผิวทั้ง 6 พื้นผิว ของแบบงานในภาพที่ 8-17 พบว่ามีลักษณะของการควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) โดยมีลักษณะของการควบคุมดังนี้

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด 0.9 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน X การขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด 0.5 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด 0.2 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการหมุนรอบแกน u และการหมุนรอบแกน v

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด 0.1 จะมีความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ทุกระดับ ทั้งระดับของการขยับ (Translational Freedom) และระดับของการหมุน (Rotational Freedom)

การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของรูปโครงร่างใดๆ

การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของรูปโครงร่างใดๆ (Profile of a Surface) เป็นการควบคุมให้กลุ่มของพื้นผิว (Features) จัดวางอยู่ในตำแหน่งที่อ้างอิงตามกรอบดาตั้มอ้างอิง (Feature Control Frame) โดยจะเป็นการควบคุมระดับของความเป็นอิสระ (Degree of Freedom) ของการเคลื่อนที่ของกรอบดาตั้มอ้างอิงด้านบน เป็นการควบคุมทั้งระดับของการขยับ (Translational Freedom) และระดับของการหมุน (Rotational Freedom) ส่วนการควบคุมระดับของความเป็นอิสระ (Degree of Freedom) ของการเคลื่อนที่ของกรอบดาตั้มอ้างอิงด้านล่าง จะควบคุมเฉพาะระดับของการหมุน (Rotational Freedom) เท่านั้น

ภาพที่ 8-18 การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของรูปโครงร่างของพื้นผิวใดๆ

พิจารณาการควบคุมรูปโครงร่างของพื้นผิวใดๆ (Profile of a Surface) ของพื้นผิวทั้ง 6 พื้นผิว ของแบบงานในภาพที่ 8-18 พบว่ามีลักษณะของการควบคุมแบบร่วม (Composite Control) โดยมีลักษณะของการควบคุมดังนี้

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด 0.9 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการขยับในแนวแกน X การขยับในแนวแกน Y การหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด 0.5 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการหมุนรอบแกน u การหมุนรอบแกน v และการหมุนรอบแกน w

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด 0.2 จะถูกจัดวางอ้างอิงกับกรอบดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference Frame) โดยจะมีการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ในระดับการหมุนรอบแกน u และการหมุนรอบแกน v

กลุ่มของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance Zone) ขนาด 0.1 จะมีความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ทุกระดับ ทั้งระดับของการขยับ (Translational Freedom) และระดับของการหมุน (Rotational Freedom)

ภาพที่ 8-19 ซึ่งเป็นการสรุปการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ของการควบคุมรูปโครงร่างของพื้นผิวใดๆ (Profile of a Surface) ของพื้นผิวในลักษณะที่เป็นการควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ที่มีการควบคุมด้วยดาตั้มอ้างอิง 3 อันดับ ควบคุมด้วยดาตั้มอ้างอิง 2 อันดับ ควบคุมด้วยดาตั้มอ้างอิง 1 อันดับ และไม่มีการกำหนดดาตั้มอ้างอิง

ภาพที่ 8-19 การควบคุมแบบเดี่ยว (Single Segment Control) ของรูปโครงร่างของพื้นผิวใดๆ

ภาพที่ 8-20 ซึ่งเป็นการสรุปการควบคุม (Constrain) ระดับของความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ของการควบคุมรูปโครงร่างของพื้นผิวใดๆ (Profile of a Surface) ของพื้นผิวในลักษณะที่เป็นการควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ที่มีการควบคุมด้วยดาตั้มอ้างอิง 3 อันดับ ควบคุมด้วยดาตั้มอ้างอิง 2 อันดับ ควบคุมด้วยดาตั้มอ้างอิง 1 อันดับ และไม่มีการกำหนดดาตั้มอ้างอิง

ภาพที่ 8-20 การควบคุมแบบร่วม (Composite Control) ของรูปโครงร่างของพื้นผิวใดๆ