How to calculate bonus tolerance for MMC

การคำนวณหาค่า Bonus Tolerance เมื่อกำหนด Modifier MMC

ในวันนี้เราจะมาดูวิธีการคำนวณหาค่า Bonus Tolerance ของชิ้นงานเมื่อมีการกำหนดสัญลักษณ์ Modifier MMC กันครับ 

Modifier MMC เป็นสัญลักษณ์ที่ถูกกำหนดลงมาในช่องของค่าความคลาดเคลื่อนในกรอบสัญลักษณ์ GD&T ซึ่งจะส่งผลให้ความคลาดเคลื่อนมีค่าเปลี่ยนไปตามขนาดจริงของชิ้นงานที่ผลิตได้ โดยค่าความคลาดเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นมานี้ จะเรียกว่า Bonus Tolerance

ก่อนอื่นเรามาพิจารณาดูในแบบงานกันก่อนครับว่า แต่ละส่วนในแบบคืออะไรกันบ้าง

สัญลักษณ์ตัว M ในวงกลมที่เห็นนี้ คือ สัญลักษณ์ Modifier MMC เราอาจเรียกว่า Modifier M หรือ MMC หรือ สภาวะเนื้อวัสดุมากสุดก็ได้ ซึ่งจะเขียนอยู่ในกรอบสัญลักษณ์  GD&T ที่ใช้ในการควบคุมขนาดที่เป็น Feature of Size เท่านั้น และขนาดที่เป็น Feature of Size จะต้องมีการกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนเสมอ 

ดังนั้นขนาดประเภทนี้จะก่อให้เกิดขอบเขตโตสุด (Maximum boundary) และขอบเขตเล็กสุด (Minimum boundary) ซึ่งเราอาจจะเรียกว่าค่า Max และค่า Min ก็ได้เช่นกัน 

และสุดท้ายตัวเลขค่าความคลาดเคลื่อนสำหรับควบคุมรูปร่างรูปทรงที่ถูกกำหนดมาในแบบ จะเรียกว่าค่าความคลาดเคลื่อนตั้งต้น (Stated Tolerance)

และในส่วนนี้ถือเป็นนิยามส่วนแรกที่เราต้องรู้และเข้าใจก่อนที่จะทำการคำนวณหาค่า Bonus Tolerance ครับ 

เราลองมาดูตัวอย่างการคำนวณในกรณีที่ชิ้นงานเป็นสลักกันครับ 

จากแบบงานเราจะพบว่าขนาดในสภาวะเนื้อวัสดุมากสุด (MMC) ของสลักมีค่าเท่ากับ 20.1 มีค่าความคลาดเคลื่อนตั้งต้น (Stated tolerance) เท่ากับ 0.2 

เราสามารถคำนวณหาค่า Bonus tolerance ที่เป็นค่าความคลาดเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นมา โดย Bonus tolerance จะมีค่าเท่ากับผลต่างระหว่างขนาดในสภาวะเนื้อวัสดุมากสุดกับขนาดจริงที่เกิดขึ้นของชิ้นงาน ถ้าเขียนเป็นสูตรก็จะได้ว่า 

Bonus tolerance = | MMC size - Actual Size |

ดังนั้นผลลัพธ์ที่คำนวณได้จะมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับศูนย์เสมอ 

และ Bonus tolerance ที่คำนวณได้นี้ จะนำไปรวมกับค่าความคลาดเคลื่อนตั้งต้นในแบบงาน เกิดเป็นค่าความคลาดเคลื่อนทั้งหมด (Total tolerance) ของชิ้นงาน ซึ่งจะมีค่าเปลี่ยนไปตามขนาดจริงของชิ้นงานและเป็นค่าที่ใช้ในการวิเคราะห์ว่าชิ้นงานนั้นสามารถเกิดค่าความคลาดเคลื่อนได้มากที่สุดเท่าไหร่ และถ้าเขียนเป็นสูตรก็จะได้ว่า 

Total tolerance = Stated tolerance + Bonus tolerance  

ลองมาดูตัวอย่างการคำนวณกันครับ สำหรับชิ้นงานที่เป็นสลัก 

สมมุติว่าขนาดจริงที่เกิดขึ้นมีค่าเท่ากับ 19.96 

Bonus tolerance = | 20.1 - 19.96 | = 0.14 

และ Total tolerance = 0.2 + 0.14 = 0.34 

ดังนั้นสลักที่ผลิตออกมาแล้วมีขนาดเท่ากับ 19.96 จะมีค่าความคลาดเคลื่อนของความตรงเท่ากับ 0.34 

ถัดมาเราลองมาดูตัวอย่างการคำนวณในกรณีที่ชิ้นงานเป็นรูกันบ้างครับ 

จากแบบงานเราจะพบว่าขนาดในสภาวะเนื้อวัสดุมากสุด (MMC) ของรูมีค่าเท่ากับ 19.9 มีค่าความคลาดเคลื่อนตั้งต้น (Stated tolerance) เท่ากับ 0.2 

เราสามารถคำนวณหาค่า Bonus tolerance ที่เป็นค่าความคลาดเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นมา โดย Bonus tolerance จะมีค่าเท่ากับผลต่างระหว่างขนาดในสภาวะเนื้อวัสดุมากสุดกับขนาดจริงที่เกิดขึ้นของชิ้นงาน ถ้าเขียนเป็นสูตรก็จะได้ว่า 

Bonus tolerance = | MMC size - Actual Size |

และ Bonus tolerance ที่คำนวณได้นี้ จะนำไปรวมกับค่าความคลาดเคลื่อนตั้งต้นในแบบงาน เกิดเป็นค่าความคลาดเคลื่อนทั้งหมด (Total tolerance) ของชิ้นงาน ซึ่งจะมีค่าเปลี่ยนไปตามขนาดจริงของชิ้นงานและเป็นค่าที่ใช้ในการวิเคราะห์ว่าชิ้นงานนั้นสามารถเกิดค่าความคลาดเคลื่อนได้มากที่สุดเท่าไหร่ และถ้าเขียนเป็นสูตรก็จะได้ว่า 

Total tolerance = Stated tolerance + Bonus tolerance  

ลองมาดูตัวอย่างการคำนวณกันครับ สำหรับชิ้นงานที่เป็นรู 

สมมุติว่าขนาดจริงที่เกิดขึ้นมีค่าเท่ากับ 19.96 

Bonus tolerance = | 19.9 - 19.96 | = 0.06 

และ Total Tolerance = 0.2 + 0.06 = 0.26 

ดังนั้นรูที่ผลิตออกมาแล้วมีขนาดเท่ากับ 19.96 จะมีค่าความคลาดเคลื่อนของความตรงเท่ากับ 0.26 ครับ

อย่าลืมนะครับว่า สภาวะเนื้อวัสดุจะเกิดขึ้นกับขนาดที่เป็น Feature of Size ที่มีการกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนเท่านั้น 

ถ้าชิ้นงานเป็นสลัก (Extetrnal feature) ขนาดในสภาวะ MMC ที่ใช้ในการคำนวณก็คือขนาดของสลักที่โตที่สุด (Maximum boundary)

แต่ถ้าชิ้นงานเป็นรูหรือร่อง (Internal feature) ขนาดในสภาวะ MMC คือขนาดของรูที่เล็กที่สุด (Minimum boundary)