Geometry symbol

สัญลักษณ์ควบคุมรูปร่างรูปทรง

วันนี้เราจะมาดูกันครับว่า สัญลักษณ์ GD&T ที่ใช้ในการควบคุมรูปร่างรูปทรงทั้ง 14 สัญลักษณ์คืออะไร มีลักษณะอย่างไร และสามารถควบคุมอะไรได้บ้าง 

GD&T ทั้ง 14 สัญลักษณ์นี้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 

ความราบ (Flatness)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมรูปทรง (Form) ไม่จำเป็นต้องกำหนดดาตั้มอ้างอิง 

เป็นการควบคุมรูปร่างรูปทรงให้อยู่ระนาบในอุดมคติ (Perfect plane)

ความราบสามารถใช้ในการควบคุมพื้นผิว (Planar surface) หรือระนาบกลาง (Median plane) 

ความตรง (Straightness)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมรูปทรง (Form) ไม่จำเป็นต้องกำหนดดาตั้มอ้างอิง 

เป็นการควบคุมรูปร่างรูปทรงให้อยู่แนวแกนในอุดมคติ (Perfect line)

ความตรงสามารถใช้ในการควบคุมแต่ละแนบนพื้นผิว (Each line element) หรือแกนกลาง (Median line

ความเป็นทรงกระบอก (Cylindricity)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมรูปทรง (Form) ไม่จำเป็นต้องกำหนดดาตั้มอ้างอิง 

เป็นการควบคุมรูปร่างรูปทรงให้แต่ละตำแหน่งบนพื้นผิวมีระยะห่างในทิศทางที่ตั้งฉากจากแนวแกนมีค่าเท่าๆ กัน 

ความเป็นทรงกระบอกสามารถใช้ในการควบคุมพื้นผิว (Cylinder surface) เท่านั้น

ความกลม (Circularity/Roundness)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมรูปทรง (Form) ไม่จำเป็นต้องกำหนดดาตั้มอ้างอิง 

เป็นการควบคุมรูปร่างรูปทรงให้แต่ละตำแหน่งบนแนวระนาบของพื้นผิวมีระยะห่างจากจุดอ้างอิงจุดใดจุดหนึ่งเป็นระยะทางเท่าๆ กัน 

ความตรงสามารถใช้ในการควบคุมแต่ละแนวบนพื้นผิว (Each line element) ของผิวที่มีรูปทรงเป็นกระบอก ทรงกรวย และทรงกลม

ความตั้งฉาก (Perpendicularity/Squareness)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมการจัดวางทิศทาง (Orientation) จำเป็นต้องกำหนดดาตั้มอ้างอิงเสมอ

สามารถกำหนดดาตั้มอ้างอิงเป็นระนาบ (Datum plane) หรือแกน (Datum axis) และมีได้มากที่สุดไม่เกิน 2 อันดับ

เป็นการควบคุมรูปร่างรูปทรงให้มีทิศทางที่ทำมุม 90 องศากับดาตั้มอ้างอิง 

ความตั้งฉากสามารถใช้ในการควบคุมพื้นผิว (Planar surface) แต่ละแนวบนพื้นผิว (Each line element) ระนาบกลาง (Center plane) แกนกลาง (Center line) หรือระนาบสัมผัสพื้นผิวด้านนอก (Outer tangent plane)

ความขนาน (Parallelism)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมการจัดวางทิศทาง (Orientation) จำเป็นต้องกำหนดดาตั้มอ้างอิงเสมอ

สามารถกำหนดดาตั้มอ้างอิงเป็นระนาบ (Datum plane) หรือแกน (Datum axis) และมีได้มากที่สุดไม่เกิน 2 อันดับ

เป็นการควบคุมรูปร่างรูปทรงให้มีระยะห่างเมื่อเทียบกับดาตั้มอ้างอิงเป็นระยะเท่าๆ กัน  

ความตั้งฉากสามารถใช้ในการควบคุมพื้นผิว (Planar surface) แต่ละแนวบนพื้นผิว (Each line element) ระนาบกลาง (Center plane) แกนกลาง (Center line) หรือระนาบสัมผัสพื้นผิวด้านนอก (Outer tangent plane)

ความเป็นมุม (Angularity)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมการจัดวางทิศทาง (Orientation) จำเป็นต้องกำหนดดาตั้มอ้างอิงเสมอ

สามารถกำหนดดาตั้มอ้างอิงเป็นระนาบ (Datum plane) หรือแกน (Datum axis) และมีได้มากที่สุดไม่เกิน 2 อันดับ

เป็นการควบคุมรูปร่างรูปทรงให้มีการจัดวางทำมุมที่แน่นอนเมื่อเทียบกับดาตั้มอ้างอิง 

ความตั้งฉากสามารถใช้ในการควบคุมพื้นผิว (Planar surface) แต่ละแนวบนพื้นผิว (Each line element) ระนาบกลาง (Center plane) แกนกลาง (Center line) หรือระนาบสัมผัสพื้นผิวด้านนอก (Outer tangent plane)

ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมการจัดวางตำแหน่ง (Location) จำเป็นต้องมีการกำหนดดาตั้มอ้างอิง 

สามารถกำหนดดาตั้มอ้างอิงเป็นระนาบ (Datum plane) แกน (Datum axis) จุด (Datum point) หรือเป็นการอ้างอิงในกลุ่มของสิ่งที่ถูกควบคุม

เป็นการควบคุมรูปร่างรูปทรงให้อยู่ในตำแหน่งที่แน่นอนในอุดมคติเมื่อเทียบกับดาตั้มอ้างอิง 

ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งสามารถใช้ในการควบคุมได้ทั้งระนาบกลาง (Center plane) แกนกลาง (Center line) จุดกึ่งกลาง (Center point) หรือพื้นผิว (Surface)

ความสมมาตร (Symmetry)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมการจัดวางตำแหน่ง (Location) จำเป็นต้องมีการกำหนดดาตั้มอ้างอิง 

สามารถกำหนดดาตั้มอ้างอิงเป็นระนาบ (Datum plane) หรือแกน (Datum axis) 

เป็นการควบคุมรูปร่างรูปทรงให้ถูกจัดวางอยู่ในตำแหน่งเดียวกับดาตั้มอ้างอิง 

ความสมมาตรใช้ในการควบคุมกลุ่มของจุดกึ่งกลาง (Median point)

ความสมมาตร (Symmetry)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมการจัดวางตำแหน่ง (Location) จำเป็นต้องมีการกำหนดดาตั้มอ้างอิง 

สามารถกำหนดดาตั้มอ้างอิงเป็นแกน (Datum axis) ได้เท่านั้น

เป็นการควบคุมรูปร่างรูปทรงให้ถูกจัดวางอยู่ในตำแหน่งเดียวกับดาตั้มอ้างอิง 

ความร่วมศูนย์ร่วมแกนใช้ในการควบคุมจุดกึ่งกลางหรือกลุ่มของจุดกึ่งกลาง (Median point)

ความเบี่ยงเบนเนื่องจากการหมุนในแต่ละระนาบ (Circular Runout)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมความเบี่ยงเบนเนื่องจากการหมุน (Runout) จำเป็นต้องกำหนดดาตั้มอ้างอิง และดาตั้มอ้างอิงต้องเป็นแกน (Datum axis) เท่านั้น

เป็นสภาวะที่แต่ละจุดบนพื้นผิวของแต่ละแนวหน้าตัด มีระยะห่างเมื่อเทียบกับแกนดาตั้มอ้างอิงเป็นระยะเท่าๆ กันในแต่ละแนวหน้าตัดเมื่อเกิดการหมุนรอบแกน 

ความเบี่ยงเบนเนื่องจากการหมุนทั้งหมด (Total Runout)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมความเบี่ยงเบนเนื่องจากการหมุน (Runout) จำเป็นต้องกำหนดดาตั้มอ้างอิง และดตั้มอ้างอิงต้องเป็นแกน (Datum axis) เท่านั้น

เป็นสภาวะที่แต่ละจุดบนพื้นผิวมีระยะห่างเมื่อเทียบกับแกนดาตั้มอ้างอิงเป็นระยะเท่าๆ กันตลอดทั้งพื้นผิว เมื่อเกิดการหมุนรอบแกน 

รูปโครงร่างของเส้นใดๆ  (Profile of Line)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมรูปโครงร่าง (Profile) อาจจะมีการการกำหนดดาตั้มอ้างอิงหรือไม่ต้องกำหนดดาตั้มอ้างอิงก็ได้ 

เป็นการควบคุมให้กลุ่มของเส้นโครงร่างถูกตรึงให้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งทางด้านรูปทรง ทิศทาง ตำแหน่ง และขนาดด้านมิติ 

รูปโครงร่างของพื้นผิวใดๆ  (Profile of Surface)

อยู่ในกลุ่มของการควบคุมรูปโครงร่าง (Profile) อาจจะมีการการกำหนดดาตั้มอ้างอิงหรือไม่ต้องกำหนดดาตั้มอ้างอิงก็ได้ 

เป็นการควบคุมให้กลุ่มของพื้นผิวถูกตรึงให้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งทางด้านรูปทรง ทิศทาง ตำแหน่ง และขนาดด้านมิติ 

และนี้คือความหมายเบื้องต้นของสัญลักษณ์ GD&T ทั้ง 14 สัญลักษณ์ครับ