Geometry deviation

ลักษณะความคลาดเคลื่อนทางด้านรูปร่างรูปทรง

วันนี้เราจะมาดูกันว่าลักษณะความคลาดเคลื่อนด้านขนาดและรูปร่างรูปทรงของชิ้นงาน มีกี่รูปแบบและเกิดขึ้นในลักษณะไหนบ้าง 

แบบแรกเป็นความคลาดเคลื่อนของขนาดด้านมิติ (Size) ครับ ซึ่งการระบุค่าความคลาดเคลื่อนของขนาดจะใช้การกำหนดค่าแบบเป็นช่วง 

ขนาดด้านมิติ (Size) ก็จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter) ดังภาพตัวอย่าง ขนาดรัศมี (Radius) ขนาดกำหนดระยะห่าง (Linear dimension) ขนาดกำหนดตำแหน่ง (Location dimension) ขนาดมุม (Angular dimension) และขนาดลบมุม (Edge condition) แบบต่างๆ ครับ 

ค่าความคลาดเคลื่อนของขนาดด้านบน (Upper tolerance) จะก่อให้เกิดขนาดโตที่สุด 

และจากภาพ รูจะมีขนาดโตสุดเท่ากับ 15.4 มิลลิเมตร 

ในขณะที่ความคลาดเคลื่อนของขนาดด้านล่าง (Lower tolerance) จะก่อให้เกิดขนาดที่เล็กที่สุด 

และจากภาพ รูจะมีขนาดเล็กสุดเท่ากับ 15.0 มิลลิเมตร 

ความคลาดเคลื่อนแบบที่ 2 คือ ความคลาดเคลื่อนทางด้านรูปทรง (Tolerance of Form)

รูปทรง (Form) ก็จะมีความตรง (Straightness) ความราบ (Flatness) ความกลม (Circularity) ความเป็นทรงกระบอก (Cylindricity) และรูปโครงร่าง (Profile)

โดยแบบงานที่เห็นจะมีการควบคุมความตรง (Straightness) ของแกนกลาง (Median line) ที่ขนาด ∅0.1 มิลลิเมตร 

แกนกลางรูจะยอมให้เกิดความไม่ตรง (Straightness deviation) ได้อยู่ในขอบเขตและค่าที่ว่านี้ครับ 

และในการควบคุมรูปทรง ไม่ว่าจะเกิดความเบี่ยงเบนในแนวใด ค่าที่ตรวจวัดได้จะมีค่าเป็นบวกเสมอ

แบบที่ 3 คือ ค่าความคลาดเคลื่อนของการจัดวางทิศทาง (Tolerance of Orientation)

การจัดวางทิศทาง (Orientation) ก็จะมีความตั้งฉาก (perpendicularity) ความขนาน (Parallelism) ความเป็นมุม (Angularity) รวมถึงรูปโครงร่าง (Profile) ด้วยครับ

และแบบงานที่เห็นจะพบว่ามีการควบคุมค่าความตั้งฉาก (Perpendicularity) ของแกนกลาง (Center line) รู ให้อยู่ในขอบเขต ∅0.2 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับดาตั้ม A 

เราจึงต้องพิจารณาดาตั้ม A ก่อนครับว่าดาตั้ม A คืออะไร 

ซึ่งจากแบบตัวอย่าง ดาตั้ม A คือ ระนาบดาตั้ม (Datum plane) ครับ 

และแกนกลางของรูสามารถที่จะเอียงได้ไม่เกิน 0.2 มิลลิเมตร 

แกนกลางของรูสามารถเอียงไปในทิศทางใดๆ ก็ได้ครับ 

โดยที่ตำแหน่ง (Location) ของรูจะไม่ได้ถูกควบคุมจากการจัดวางทิศทาง (Orientation)

แบบสุดท้าย คือ ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Location)

การจัดวางตำแหน่ง ประกอบด้วยการควบคุมความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (Tolerance of Position) ความสมมาตร (Symmetry) ความร่วมศูนย์ร่วมแกน (Concentricity) อาจรวมถึงความเบี่ยงเบนเนื่องจากการหมุน (Runout) และรูปโครงร่าง (Profile) ด้วยครับ

จากแบบงานพบว่ามีการควบคุมด้วย GD&T Tolerance of Position ให้ตำแหน่งแกนกลาง (Center line) รูอยู่ในขอบเขตความคลาดเคลื่อ ∅0.3 มิลลิเมตร อ้างอิงกับดาตั้ม A B และ C 

เมื่อเราพิจารณารูปแบบและลำดับของดาตั้ม A B และ C พบว่าดาตั้มทั้ง 3 เป็นระนาบ (Datum plane) ทั้งหมด 

โดยตำแหน่งแกนกลางของรูจะถูกอ้างอิงจากศูนย์ที่เกิดจากดาตั้ม A B C นี้ครับ โดยมีระยะห่างจากดาตั้ม C เท่ากับ 50 มิลลิเมตร

จากแบบ แกนกลางของรูสามารถผิดตำแหน่ง (Position deviation) ไปในทิศทางลบ (-) ได้ไม่เกิน 0.15 มิลลิเมตร 

และผิดตำแหน่งไปในทิศทางบวก (+) ได้ไม่เกิน 0.15 มิลลิเมตร เช่นกัน

และนี่ก็เป็นรูปแบบความคลาดเคลื่อนของขนาดและรูปร่างรูปทรงทั้ง 4 แบบครับ ได้แก่ 

ซึ่งผิวหรือสิ่งที่ถูกควบคุมในแบบจะเกิดความคลาดเคลื่อนได้อย่างน้อย 1 แบบเสมอครับ