Standard tolerance / Fitting tolerance

ค่าพิกัดงานสวม

ในวันนี้ เป็นเรื่องของการหาค่าความคลาดเคลื่อนของขนาดที่มีการกำหนดสัญลักษณ์ค่าพิกัดงานสวม (Standard toleance / Fitting tolerance) ครับ 

ลักษณะของการกำหนดค่าพิกัดงานสวมในแบบงาน จะเขียนเป็นชุดของตัวอักษรและตัวเลข 

ซึ่งตัวอักษรจะบอกระดับความเบี่ยงเบนพื้นฐาน (Fundamental Deviation) โดยไล่เรียงตั้งแต่ A B C D ไปเรื่อยๆ จนถึง Z ZA ZB และ ZC 

โดย A จะมีระดับความเบี่ยงเบนน้อยที่สุด ไปจนถึง ZC ที่มีระดับความเบี่ยงเบนมากที่สุด 

ส่วนตัวเลขหลังตัวอักษร เป็นระดับค่าพิกัดความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (International Tolerance) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกย่อๆ ว่า IT Number ครับ 

ค่า IT Number เริ่มตั้งแต่ IT01 IT0 ไปเรื่อยๆ จนถึง IT18 โดยตัวเลข IT Number น้อยๆ หมายถึง ช่วงของค่าขอบเขตความคลาดเคลื่อนที่แคบ และยิ่งตัวเลข IT Number มากขึ้นจะหมายถึงช่วงค่าขอบเขตความคลาดเคลื่อนที่กว้างขึ้นครับ 

จากตัวอย่างในแบบงาน พบว่ามีรูปแบบของการกำหนดค่าพิกัดงานสวม เป็น 6 H1

ในบางครั้ง ผู้เขียนแบบจะกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนของพิกัดงานสวม ต่อท้ายอยู่ในวงเล็บครับ 

ซึ่งขนาด 6 ในแบบงานจะมีค่าความคลาดเคลื่อน +120 ไมครอน ด้านเดียว 

แต่ถ้าในแบบงานไม่ได้ระบุตัวเลข เราจะสามารถหาค่าพิกัดความคลาดเคลื่อนได้จากการเปิดตารางมาตรฐาน ISO 286-

ที่จะมีค่าพิกัดงานสวมที่สอดคล้องกับการทำงาน เริ่มตั้งแต่ระดับ A9 ไปจนถึง ZC11 ครับ

ลองมาดูตัวอย่างของการเปิดตารางเพื่อหาค่าพิกัดงานสวมของขนาด 6 H12 กันครับ 

เปิดตารางของระดับความเบี่ยงเบนพื้นฐาน H 

ดูเลข IT Number เท่ากับ 12 ครับ 

ชิ้นงานที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตร 

พบว่าจะอ่านค่าความคลาดเคลื่อนด้านบนได้เท่ากับ +0.12 และค่าความคลาดเคลื่อนด้านล่างเท่ากับ 0 

โดยมีหน่วยของค่าตัวเลขเป็นมิลลิเมตร 

ซึ่งเราจะได้คำตอบเช่นเดียวกับคำตอบก่อนหน้านี้ครับ นั่นคือ ขนาด 6 ในแบบงานจะมีค่าความคลาดเคลื่อน +0.12 มิลลิเมตร เพียงด้านเดียว 

สัญลักษณ์ค่าพิกัดงานสวมสามารถกำหนดได้ทั้งขนาดของรูและเพลา 

โดยตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวใหญ่จะหมายถึงค่าความคลาดเคลื่อนของรู (Hole) และตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กจะหมายถึงค่าความคลาดเคลื่อนของเพลา (Shaft)

จากแบบงาน เราสามารถแปลความหมายได้ว่า ชิ้นงานที่เป็นรูจะมีค่าพิกัดงานสวมอยู่ที่ 6 H7 

ส่วนชิ้นงานที่เป็นเพลาจะมีค่าพิกัดงานสวมอยู่ที่ 6 m6 

เราลองมาดูอีกซักหนึ่งตัวอย่างครับ 

สำหรับขนาดของรู 6 H7 

ขนาดของรู 6 มิลลิเมตร กำหนดพิกัดงานสวม H7 

อ่านค่าความคลาดเคลื่อนด้านบนได้ +12 ด้านล่างได้ 0 โดยมีหน่วยเป็นไมครอน 

ดังนั้นขนาด 6 H7 จะมีค่าความคลาดเคลื่อน +12 ไมครอน เพียงด้านเดียว 

สำหรับขนาดของเพลา 6 m6  

จะอ่านค่าความคลาดเคลื่อนด้านบนได้ +12 ด้านล่างได้ +4

ดังนั้นขนาด 6 m6 จะมีค่าความคลาดเคลื่อน +12 / +4 ไมครอน 



ในตารางพิกัดงานสวมจะมีรูปแบบของลักษณะของการสวมสำหรับผู้ออกแบบอยู่ 2 แบบ ได้แก่ 

ระบบรูคว้านเป็นหลัก (Hole Basis System) จากตารางจะพบว่าเป็นการกำหนดขนาดค่าพิกัดงานสวมของรูก่อน แล้วค่อยเลือกค่าพิกัดงานสวมของเพลาที่เหมาะสมต่อการประกอบมาใช้ 

ระบบเพลาเป็นหลัก (Shaft Basis System) ซึ่งเป็นการกำหนดขนาดค่าพิกัดงานสวมของเพลาก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยกำหนดค่าพิกัดงานสวมของรูทีหลัง

และนี่ก็เป็นวิธีการหาค่าความคลาดเคลื่อนของขนาดที่มีการกำหนดสัญลักษณ์เป็นพิกัดงานสวม (Standard toleance / Fitting tolerance) ครับ