How to find tolerance value

หาค่าความคลาดเคลื่อนในแบบงานได้จากไหน

เป็นที่ทราบกันใช่ไหมครับว่า สิ่งหนึ่งในกระบวนการทำงานที่ผู้อ่านแบบจำเป็นต้องรู้เพื่อการผลิตชิ้นงาน คือ ค่าความคลาดเคลื่อน (Tolerance) 

แล้วเราจะวิเคราะห์หาค่าความคลาดเคลื่อนในแบบงานได้อย่างไร มาดูกันครับ 

ที่มาของค่าความคลาดเคลื่อนแบบแรก เป็นการหาค่าที่ง่ายที่สุด นั่นคือ ค่าความคลาดเคลื่อนที่มาพร้อมกับขนาดที่ถูกกำหนดในแบบงาน 

วิธีนี้เป็นการกำหนดค่าลงไปในแบบงานโดยตรง ซึ่งการระบุค่าความคลาดเคลื่อนของขนาดด้านมิติ จะมี 2 ค่าคือ ค่าความคลาดเคลื่อนด้านบน (Upper tolerance) และค่าความคลาดเคลื่อนด้านล่าง (Lower tolerance) 

ส่วนการระบุค่าความคลาดเคลื่อนของการควบคุมรูปร่างรูปทรง จะเป็นค่าที่อยู่ในช่องที่ 2 ของกรอบสัญลักษณ์ GD&T ซึ่งจะมีเพียงค่าเดียว คือค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้เกิดขึ้นได้มากที่สุดของการควบคุมรูปร่างรูปทรงนั้นๆ 

ในกรณีที่ขนาดด้านมิติไม่ได้ถูกระบุค่าความคลาดเคลื่อน เราต้องหาค่าความคลาดเคลื่อนจากค่าความคลาดเคลื่อนทั่วไป (General tolerance) 

ผู้อ่านแบบสามารถหาค่าความคลาดเคลื่อนของขนาดได้ โดยดูจากส่วนของ Title Block ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนทั่วไปอาจถูกกำหนดมาในรูปของตาราง ตัวเลข หรือมีการอ้างอิงด้วยมาตรฐาน 

เช่น กระบวนการผลิตแบบมีเศษตัด (Machining process) จะใช้มาตรฐาน ISO 2768 หรือ DIN 7168 หรือ JIS B0409 

ค่าความคลาดเคลื่อนทั่วไป ควรจะกำหนดให้ครอบคลุมทั้งขนาดด้านมิติ ขนาดมุม ขนาดด้านรูปร่างรูปทรง ความเรียบผิว และการลบคมของชิ้นงาน 

นอกจากนี้ ยังมีค่าความคลาดเคลื่อนทั่วไปของลักษณะงานเฉพาะ เช่น ขนาดของเกลียวเมตริก M12 x 1.5 

ที่มีการอ้างอิงความคลาดเคลื่อนของขนาดและโครงร่างจากมาตรฐาน ASME B1.1 3 M  

สุดท้ายคือค่าความคลาดเคลื่อนที่ได้จากตารางพิกัดงานสวม (Standard Tolerance หรือ Fitting Tolerance) ซึ่งเป็นตารางค่าความคลาดเคลื่อนจากมาตรฐาน ISO 286-2 โดยจะมีการกำหนดในรูปแบบของรหัส 

เช่น ขนาด Ø6 H12 ในแบบงาน หมายถึง ชิ้นงานเป็นรูที่มีค่าความคลาดเคลื่อนด้านบน บวก 120 ไมครอน และค่าความคลาดเคลื่อนด้านล่าง 0 ไมครอน 

ในปัจจุบัน ผู้ออกแบบจะกำหนดรหัสของพิกัดการสวมไปพร้อมการกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนของงานสวมที่อยู่ในวงเล็บ เพื่อทำให้ผู้อ่านแบบสามารถทำงานได้ง่าย ทำให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน ลดความผิดพลาดในการเปิดตารางมาตรฐาน 

และนี่คือที่มาของค่าความคลาดเคลื่อนในแบบงานทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ 

แต่จริงๆ แล้ว ในกระบวนการทำงานยังมีการวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนอีก 2 วิธี ได้แก่ 

ซึ่งถ้ามีโอกาสจะมาพูดคุยในโอกาสถัดไปครับ