Tolerance reduced by wrong origin

ค่าความคลาดเคลื่อนแคบลงเมื่อกำหนดศูนย์งานผิดพลาด

เขียนบทความเรื่องความเชื่อที่ว่า “แบบงานที่มีสัญลักษณ์ GD&T ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น” ไป 3-4 ตอนแล้ว ทำให้ผมนึกไปถึงเรื่องเรื่องหนึ่ง เมื่อหลายปีมามาแล้ว เรื่องมันมีอยู่ว่า ...

“ช่วยดูแบบให้หน่อยสิ มีสัญลักษณ์แปลกๆ ในแบบลูกค้า มันคืออะไร” เพื่อนที่ตอนนี้เป็นผู้จัดการทักมา

“มันเป็นสัญลักษณ์ GD&T” ผมตอบ หลังจากได้ดูแบบงาน

“มันเอาไว้ทำอะไร”

“ลูกค้าใส่มาเพื่อบอกฟังก์ชั่นการใช้งาน ทำให้เราผลิตได้ง่ายขึ้น”

“.... ที่ผ่านไม่มีสัญลักษณ์พวกนี้ ส่งงานให้ลูกค้าไม่มีปัญหา พอมีสัญลักษณ์พวกนี้ งานมีปัญหาเยอะ”

แล้วผมก็นั่งคุย ขอข้อมูลเท่าที่เพื่อนมันจะให้ได้เพื่อวิเคราะห์แบบ โชคดีที่งานนี้ไม่ซับซ้อน เลยใช้เวลาไม่นาน

คำตอบที่ทำให้ทำงานได้ยากขึ้นคือ ….

“กำหนดดาตั้มไม่สอดคล้องกับการประกอบ และค่า Tolerance ไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขการใช้งาน”

“แล้วต้องทำยังไง” มันถาม

“ก็อธิบายให้ลูกค้าฟัง ขอปรับแบบและค่า Tolerance” ผมตอบ

“ช่วยสอนน้องๆ ในทีมเราหน่อย”

หลังจากนั้นก็มีการอบรมหลักสูตร GD&T ทั้งหลักสูตร Basic และ Advance รวม 4 วัน ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีคำถามเรื่อง GD&T มาบ้าง เนื่องจากมาตรฐานมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตลอดเวลา ...แต่การอธิบายให้น้องๆ ที่เข้าใขพื้นฐาน GD&T ใช้เวลาไม่นาน

วันนี้ก็เลยขอเพิ่มเงื่อนไขอีก 2 ข้อ ที่การกำหนดสัญลักษณ์ GD&T ในแบบงานทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น นั้นคือ

ตัวอย่างง่ายๆ จากแบบที่ให้มาครับ

สลักรูปบน มีการอ้างอิงศูนย์งานที่สอดคล้องกับการประกอบ และกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนของขนาด 12 มีค่า +0.1 มม.

ส่วนสลักรูปล่าง อ้างอิงศูนย์งานไม่ตรงกับการประกอบ ทำให้เกิด Stack tolerance ไปยังขนาด 28 และ 40 ส่งผลให้ค่าความคลาดเคลื่อนลดลงครึ่งหนึ่ง เหลือเพียง +0.05 มม.

ซึ่งแน่นอนครับว่า การกำหนดค่า Tolerance น้อยๆ จะมีต้นทุนในการผลิตสูงกว่าการกำหนดค่า Tolerance มากๆ