GD&T raise product cost

GD&T ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น

“แบบงานที่มีสัญลักษณ์ GD&T ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น” ...เราเห็นด้วยกับประโยคดังกล่าวหรือไม่

เวปไซต์ต่างๆ ที่ให้ความรู้เรื่อง GD&T อธิบายไว้มากมายว่าการกำหนดสัญลักษณ์ GD&T ลงไปในแบบงานจะทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลงในภาพรวม และความเชื่อที่ว่า แบบงานที่มีสัญลักษณ์ GD&T จะทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่คนทำงานส่วนมากยังคงเข้าใจผิด 

จากประสบการณ์การทำงานและการได้เห็นแบบงานในอุตสาหกรรมต่างๆ มานาน ผมมีทั้งคำตอบเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

จริงๆ แล้ว มีแบบงานที่เมื่อมีการกำหนดสัญลักษณ์ GD&T ในแล้วทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น!! ถ้ามีเงื่อนไขต่อไปนี้

นั้นหมายความว่า ถ้าชิ้นงานนั้นมีเงื่อนไขข้างต้นครบทั้ง 3 เงื่อนไข การกำหนดสัญลักษณ์ GD&T จะเป็นการเพิ่มต้นทุนในกระบวนการทำงานที่เกินความจำเป็น

“แบบงานที่มีสัญลักษณ์ GD&T ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น” เป็นหนึ่งในความเชื่อที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ถ้า ...

ชิ้นงานนั้นเป็นแบบงานทางด้านเครื่องกล ที่ถูกออกแบบมาให้มีการประกอบทดแทนกันได้ และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานละเอียดสุดที่ต่ำกว่า IT10

มีหลายเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า การกำหนดสัญลักษณ์ GD&T ที่ให้ต้นทุนในการผลิตลดลง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ขนาดของขอบเขตความคลาดเคลื่อน

พิจารณาง่ายๆ จากรูปที่ให้มาครับ

ถ้าไม่มีการกำหนด GD&T และใช้ Location dimension ในการกำหนดตำแหน่ง พื้นที่ของขอบเขตความคลาดเคลื่อนจะมีค่าเท่ากับ 0.04 ตร.มม.

แต่ถ้ามีการกำหนดตำแหน่งด้วย GD&T Tolerance of Position พื้นที่ของขอบเขตความคลาดเคลื่อนจะมีค่าเท่ากับ 0.0ุุ63 ตร.มม.

นั้นหมายถึง พื้นที่ของขอบเขตความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งเมื่อมีการกำหนดสัญลักษณ์ GD&T มีค่าเพิ่มมากขึ้นกว่า 57% เมื่อเทียบกับการกำหนดขนาดด้วย Location dimension

และแน่นอนว่า ชิ้นงานที่มีค่าความคลาดเคลื่อนมากย่อมมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่าชิ้นงานที่มีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยๆ

ถ้าเราเป็นฝ่ายผลิต ขนาดที่มีค่าความคลาดเคลื่อนมาก จะทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น เกิดของเสียลดลง ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลง

หนึ่งในข้อดีของการกำหนดสัญลักษณ์ GD&T ในแบบงาน คือ การใส่ Modifier MMC ที่จะส่งผลให้เกิด Bonus tolerance ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนจะมีค่าเพิ่มมากขึ้นในบางเงื่อนไข ส่งผลให้การผลิตง่ายขึ้นไปอีก

ดังนั้น ความเชื่อที่ว่า “แบบงานที่มีสัญลักษณ์ GD&T ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น” จึงเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง สำหรับการเขียนแบบทางด้านเครื่องกล