GD&T Workframe

กรอบ GD&T เพื่อการทำงาน

ในกรอบคำว่า GD&T เพื่อการทำงาน ไม่ได้มีแค่เรื่องของสัญลักษณ์ แต่มีหลายส่วนประกอบเข้าด้วยกัน ตั้งแต่สัญลักษณ์ GD&T ศูนย์ของชิ้นงาน ดาตั้มอ้างอิง ขนาดด้านมิติ รูปแบบของขนาดแบบต่าง พิกัดความคลาดเคลื่อน สภาวะขอบเขตแบบต่างๆ นิยามความหมายเฉพาะทางเพื่อการทำงาน กฎเกณฑ์พื้นฐานด้านการเขียนแบบอ่านแบบเครืองกล รวมถึงการศึกษามาตรฐานในการทำงานอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่อง GD&T ซึ่งทั้งหมดจะมีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันทั้งทางตรงและทางอ้อม

เรื่องของ GD&T จึงไม่ใช่แค่การแปลความหมายสัญลักษณ์ แต่เป็นการทำความเข้าใจความเชื่อมโยงในเรื่องต่างๆ เพื่อการออกแบบ การผลิตและการตรวจสอบ ทำให้ GD&T เป็นเรื่องที่มีความท้าทายและมีเรื่องราวให้ศึกษาต่อไปได้เรื่อยๆ ซึ่งถ้าจะอธิบายความเชื่อมโยงกันทั้งหมด เราคงได้หนังสือเรื่อง GD&T ซัก 1 เล่มโตๆ

ถ้าถามว่า เรื่อง GD&T มันสำคัญและจำเป็นแค่ไหน?? 

คำตอบก็อาจจะขึ้นอยู่กับมุมมองและลักษณะงานของแต่ละคน ซึ่งมีตั้งแต่รู้ความหมายของสัญลักษณ์เพื่อเรียนเพื่อสอบ สามารถแปลความเพื่อการตรวจสอบ ไปจนถึงการวิเคราะห์เพื่อกำหนดสัญลักษณ์หรือออกแบบกระบวนการทำงานเพื่อให้งานที่มีคุณภาพดีตามแบบโดยใช้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำที่สุด

แล้วเราควรจะเริ่มต้นยังไง?? ถ้าเราต้องการศึกษาเรื่องนี้กันแบบจริงจัง

หนึ่งในคำตอบ คือ การเริ่มต้นในเรื่องง่ายๆ จากศึกษาในส่วนที่เราอยากรู้และจำเป็นต้องใช้ในการทำงาน ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าเราทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับแบบงานที่มีหลักการเขียนแบบจากแบบงานทางด้านเครื่องกล เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักร ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเลกทรอนิกส์  เราก็จะได้เจอสัญลักษณ์ GD&T แน่นอน

แล้วจะศึกษา GD&T จากช่องทางไหนได้บ้าง??

ปัจจุบัน โลกการเรียนรู้เป็นแบบไร้พรมแดน เราสามารถศึกษาได้จากหลายๆ แหล่ง นอกจากเพจ Nextpert ก็มีเพจและเว๊ปอื่นอีกมากที่พูดถึงเรื่อง GD&T ทั้งของไทยและต่างประเทศ ซึ่งส่วนมากจะมีข้อมูลที่เหมือนกัน เพราะส่วนมากเป็นการอธิบายเรื่องของนิยาม ความหมาย ส่วนเรื่องของการเชื่อมโยงเพื่อการทำงานก็จะมีน้อยลงมาหน่อย

ปล. ภาพประกอบ เป็นงานชิ้นส่วนน๊อตดามกระดูกที่ผมเคยมีโอกาสได้ออกแบบกระบวนการผลิตเมื่อเกือบ 20 ปีมาแล้ว