feature control frame

กรอบสัญลักษณ์ GD&T

Feature Control Frame หรือเรียกแบบไทยๆ ว่า "กรอบสัญลักษณ์ GD&T" เป็นชุดของสัญลักษณ์ในแบบงานที่ใช้ในการควบคุมผิว Feature หรือ Feature of Size โดยกรอบสัญลักษณ์ GD&T จะประกอบ 3 ส่วน ได้แก่

ส่วนของสัญลักษณ์ควบคุมรูปร่างรูปทรง เป็นส่วนของการกำหนดประเภทของการควบคุมรูปร่างรูปทรง ซึ่งการควบคุมรูปร่างรูปทรง (Geometry control) จะประกอบด้วย 5 กลุ่มการควบคุมได้แก่ 

ส่วนของค่าพิกัดความคลาดเคลื่อน เป็นส่วนที่ใช้ในการกำหนดลักษณะของขอบเขต (Tolerance zone shape) และค่าพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance value) ของการควบคุมรูปร่างรูปทรง โดยที่ค่าความคลาดเคลื่อนคือระยะช่องว่างของขอบเขตความคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ ได้แก่ ระนาบคู่ขนาน (Parallel Planes) ขอบเขตทรงกระบอก (Cylindrical Boundary) เป็นต้น

ส่วนของดาตั้มอ้างอิง เป็นส่วนของการกำหนดการควบคุมระดับความเป็นอิสระของการเคลื่อนที่ (Degree of Freedom) ของสิ่งที่ถูกควบคุมโดยการกำหนดดาตั้ม (Datum) ซึ่งจำนวนลำดับของดาตั้มอ้างอิงจะสามารรถกำหนดได้ไม่เกิน 3 อันดับ ได้แก่

นอกจากนี้ในส่วนของพิกัดความคลาดเคลื่อนและส่วนของดาตั้มอ้างอิง อาจจะมีการกำหนดสัญลักษณ์ปรับปรุง (Modifier) ลงไปในกรอบสัญลักษณ์ เช่น สภาวะเนื้อวัสดุมากสุด (Maximum Material Condition) ขอบเขตเนื้อวัสดุมากสุด (Maximum Material Boundary) การฉายขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อน (Projected Tolerance Zone) เป็นต้น

กรอบสัญลักษณ์ GD&T มี 3 ส่วน โดยส่วนแรกคือส่วนของสัญลักษณ์ควบคุมรูปร่างรูปทรง (Geometry Symbol) หรือที่เรามักจะเรียกกันว่าสัญลักษณ์ GD&T

ส่วนนี้ มีจุดประสงค์เพื่ออะไร??

ส่วนของสัญลักษณ์ มีจุดประสงค์เพื่อกำหนดประเภทของการควบคุมให้สอดคล้องกับเงื่อนไขการประกอบใช้งาน โดยที่เราสามารถระบุสัญลักษณ์ GD&T ได้เพียง 1 สัญลักษณ์ในแต่ละกรอบ Feature control frame

ส่วนนี้ ใส่อะไรได้บ้าง??

ส่วนของสัญลักษณ์ ใส่ได้เฉพาะสัญลักษณ์ควบคุมรูปร่างรูปทรง (Geometry control) เท่านั้นครับ ซึ่งจะมี 14 สัญลักษณ์ ได้แก่ Straightness, Flatness, Circularity, Cylindricity, Parallelism, Perpendicularity, Angularity, Tolerance of Position, Symmetry, Concentricity, Circular Runout, Total Runout, Profile of a Line, Profile of a surface

ต้องพิจารณาอะไรบ้าง ในส่วนนี้??

จะระบุสัญลักษณ์ควบคุมรูปร่างรูปทรงแบบไหน สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือเงื่อนไขการใช้งานหรือการประกอบ สิ่งที่สองขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่ต้องการควบคุมเป็นอะไร Feature หรือ Feature of Size และสิ่งสุดท้ายคือจำเป็นต้องใส่เหรอไม่

กรอบสัญลักษณ์ GD&T มี 3 ส่วน ส่วนที่สองคือ ส่วนของพิกัดความคลาดเคลื่อน (Tolerance)

ส่วนนี้ มีจุดประสงค์เพื่ออะไร??

ส่วนของพิกัดความคลาดเคลื่อน จะเป็นส่วนที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบและขนาดของค่าความเบี่ยงที่มากที่สุด (Maximum Deviation) ของสิ่งที่ต้องการควบคุมเทียบกับดาตั้มอ้างอิง

ส่วนนี้ ใส่อะไรได้บ้าง??

ส่วนนี้สามารถใส่เงื่อนไขความต้องการที่เกี่ยวข้องกับพิกัดความคลาดเคลื่อนได้ทั้งหมด ซึ่งมีทั้งหมด 3 เงื่อนไข ได้แก่

ต้องพิจารณาอะไรบ้าง ในส่วนนี้??

กรอบสัญลักษณ์ GD&T มี 3 ส่วน ส่วนที่สามคือส่วนของดาตั้มอ้างอิง (Datum Reference)

ส่วนนี้ มีจุดประสงค์เพื่ออะไร??

ส่วนของดาตั้มอ้างอิง จะเป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมระดับความเป็นอิสระ (Degree of Freedom) ของขอบเขตพิกัดความคลาดเคลื่อนของสิ่งที่ต้องการควบคุม

ส่วนนี้ ใส่อะไรได้บ้าง??

ส่วนนี้สามารถใส่เงื่อนไขความต้องการที่เกี่ยวข้องกับดาตั้มอ้างอิงได้ทั้งหมด ซึ่งมีทั้งหมด 2 เงื่อนไข ได้แก่

ต้องพิจารณาอะไรบ้าง ในส่วนนี้??

กรอบสัญลักษณ์ GD&T มี 3 ส่วน ส่วนแรกคือสัญลักษณ์ควบคุมรูปร่างรูปทรง ส่วนที่สองคือพิกัดความคลาดเคลื่อน ส่วนที่สามคือส่วนของดาตั้มอ้างอิง โดยทั้ง 3 ส่วนจะมีความเชื่อมโยงกัน เมื่อเราเห็นกรอบสัญลักษณ์ GD&T เราจะแปลความหมายสัญลักษณ์เบื้องต้นได้ตามลำดับดังนี้

ตัวอย่างจากแบบงานที่ให้มาจะแปลได้ว่า ...ต้องการควบคุมความตั้งฉากของแกนกลางรู ให้อยู่ในขอบเขตความคลาดเคลื่อนรูปทรงกระบอก ขนาด 0.1 มม. ที่มีการจัดวางตั้งฉากกับดาตั้ม A

เมื่อเรารู้หลักการและความเชื่อมโยงในแต่ละส่วน ก็ไม่ยากสำหรับการแปลความหมายสัญลักษณ์ GD&T