Methodology Stack Up Tolerance

ขั้นตอนการวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสม

สรุปขั้นตอนและเทคนิคการวิเคราะห์ Stack Up Tolerance โดยผมจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ตามความรู้และทักษะที่ใช้

ขั้นแรก กำหนดความต้องการและวิเคราะห์ขนาดและ GD&T ในแบบงาน

ขั้นนี้จะเป็นการกำหนดจุดประสงค์และความต้องการ ว่าเราอยากรู้อะไรในการวิเคราะห์ Tolerane Stack Up เช่น ช่องว่าง ระยะอัด ระยะเยื้อง มุม ความยาวรวม ฯลฯ

ขั้นนี้จะใช้ความรู้พื้นฐาน ประสบการณ์ทำงาน ความเข้าใจเรื่องแบบงาน, เรื่อง GD&T, เรื่องดาตั้มอ้างอิง, ค่า Tolerance, เรื่อง Boundary รวมทั้งการวิเคราะห์ Condition ในการประกอบ

ความท้าทายในขั้นนี้ คือ การหาตำแหน่งอ้างอิงในการประกอบ หาขนาดและหา GD&T ที่ส่งผลต่อตำแหน่งที่เราอยากรู้ค่า Stack Up ...แต่ขนาดที่ว่า “ไม่ได้เขียน” ในแบบงาน 

ขั้นที่สอง เลือกทฤษฎีและเทคนิคการวิเคราะห์

ความท้าทายของขั้นนี้ คือ “การเลือก” ซึ่งการวิเคราะห์อาจจะเป็นการคำนวณด้วยเครื่องคิดเลข การใช้ Excel หรือการใช้ Software เฉพาะทาง 

การวิเคราะห์ด้วยเครื่องคิดเลขหรือ Excel ต้องใช้ความรู้ด้าน GD&T, การแปลงขนาดเป็น Equal Bilateral Tolerance, การวิเคราะห์ Direction และ Sensitivity, การสร้าง Loop diagram, การคำนวณ %Contribute ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ดีในระดับ 1D Analysis หรือ 2D ในบางกรณี

การใช้ซอร์ฟแวร์เฉพาะทาง ช่วยทำให้ลดความซับซ้อนของกระบวนการ ลดความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ลงมา รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ได้ทั้ง 1D, 2D และ 3D Analysis และสามารถวิเคราะห์ด้วย Method ได้ทุกอย่าง เช่น WC, RSS, Modified RSS, Monte Carlo และ 6 Sigma

ปัญหาของขั้นนี้ที่ผมมักจะเจอ ไม่ใช่เรื่องของการคำนวณ แต่เป็นเรื่องของการใส่ Boundary condition ในการคำนวณ รวมทั้งการแปลผลการวิเคราะห์

ขั้นสุดท้าย การจัดการและปรับปรุงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

ขั้นตอนนี้นี้มีความท้าทายในการทำงานมากที่สุด เมื่อคำตอบจากการวิเคราะห์ Tolerance Stack Up ไม่ตรงกับความต้องการ แล้วเรา “จะปรับแต่งตรงจุดไหน” ...ถ้าเราวิเคราะห์แล้ว ไม่สามารถแก้ไขปรับแต่งอะไรได้ การวิเคราะห์ก็สูญเปล่า แต่ถ้าเราสามารถปรับแต่งได้ เราจะปรับแต่งอะไร

การปรับปรุงและปรับแต่ง สามารถทำได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การเปลี่ยนค่า Nominal, การแก้ไขค่า Tolerance, การปรับปรุง Condition ในการประกอบ, การเปลี่ยนแปลงกระบวนการในการผลิต ฯลฯ

เวลาผมสอนหลักสูตร Tolerance Stack Up Analysis ผมมักจะเน้นในขั้นตอนแรกและขั้นตอนสุดท้าย เพราะถ้าขั้นตอนแรกวิเคราะห์ได้ไม่ครบหรือผิดผลาด ...ต่อให้ซอร์ฟแวร์ดีขนาดไหน ผลลัพธ์ที่คำนวณได้ก็ไม่ถูกต้อง และถ้าได้ผลมาแล้วไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรต่อ ...การวิเคราะห์มาทั้งหมดก็สูญเปล่า

ดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่ Methodology for Tolerance Stack Up Analysis