stack up Tolearnce Management

การจัดการผลกระทบของค่าความคลาดเคลื่อนสะสม

“เทคนิค” หลักๆ ในการวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสม หรือ Stack Up Tolerance Analysis 

ข้อแรกก็คือ “ก่อนทำการวิเคราะห์ Tolerance Stack Up เราจะต้องทำการวิเคราะห์ Datum และ GD&T ในแบบงานก่อนเสมอ”

ข้อต่อมา คือ  “เลือกหลักการวิเคราะห์ค่า Tolerance Stack Up ที่เหมาะสมกับความต้องการในตัวงานและกระบวนการผลิตของเรา”

วันนี้ เป็นเทคนิคหลักๆ ข้อที่สำคัญที่สุดครับ นั้นก็คือ “เมื่อได้ผลการวิเคราะห์ค่า Tolerance Stack Up แล้ว เราจะตัดสินใจทำอะไรต่อ”

นี้คือส่วนที่ยากที่สุดในการแก้ปัญหาครับ เพราะเป็นเรื่องของการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในการทำงาน

เมื่อได้ผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามคาดหวัง ก็ต้องมีการปรับแต่งและจัดการขนาด (Dimensional management) หรือควบคุมประบวนการผลิตใหม่ เช่น การปรับค่า Nominal dimension ในแบบงานใหม่, การปรับค่า Tolerance value ในแบบงานใหม่, การควบคุมกระบวนการเพื่อให้ได้ค่า Cpk ใหม่, หรือการควบคุม Condition ในกระบวนการผลิตใหม่ เป็นต้น

คำถามถัดมา คือ จะปรับค่าอะไร จะเปลี่ยนประบวนการไหน จะต้องทำอย่างไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของ Stack up ตามที่ต้องการ

คำตอบพื้นฐาน คือ ให้ดูที่ค่า %Contribute ของขนาดนั้นๆ เพื่อเลือกว่าจะปรับขนาดอย่่างไร ...เรื่อง %Contribute เป็นเรื่องที่ใช้เวลาอธิบายกันเกือบครึ่งวันในการอบรมหลักสูตร Tolerance Stack Up Analysis เนื่องจากค่า %Contribute จะมีค่าแตกต่างกันเมื่อใช้หลักการวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน

ลองคิดดูเล่นๆ ครับ

จากรูปและตารางวิเคราะห์ที่ให้มา ...คำนวณค่าระยะห่าง (Distance) มากสุดแบบ WC ได้ 1.4 มม. คำนวณแบบ RSS ได้ 1.2445 มม. 

ถ้าความต้องการระยะ Distance หลังการประกอบไม่เกิน 1 มม. เราจะต้องปรับเปลี่ยน Dimension ตัวไหน, ค่า Tolerance เท่าไหร่ หรือปรับกระบวนการผลิตอย่างไร

...หลักสูตรฝึกอบรมและงานที่ปรึกษาของ NEXTPERT มีคำตอบครับ

ดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่ Methodology for Tolerance Stack Up Analysis