Tolerance Stack Up Method

หลักการวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสม

เราทราบ “เทคนิค” แรกในการวิเคราะห์ Tolerance Stack Up ไปแล้วนะครับ นั้นก็คือ “ก่อนทำการวิเคราะห์ Tolerance Stack Up เราจะต้องทำการวิเคราะห์ Datum และ GD&T ในแบบงานก่อนเสมอ”

ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้การวิเคราะห์แบบงาน จะทำให้เรารู้ว่า ขนาดและ GD&T อะไรในแบบงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งที่เราต้องการทราบ เช่น ช่องว่าง (Clearance) ระยะอัด (Interference) มุม (Angle) ความยาวรวม (Total length) เป็นต้น

เมื่อเรารู้แล้วว่า เราต้องใช้ขนาดหรือ GD&T อะไรบ้างเพื่อการวิเคราะห์ “เทคนิค” ที่จำเป็นต้องมีในขั้นถัดไป คือ “เลือกหลักการวิเคราะห์ค่า Tolerance Stack Up ที่เหมาะสม” โดยแต่ละวิธีคำนวณจะมีจุดเด่น จุดด้อย ข้อดี ข้อเสีย ที่แตกต่างกัน ซึ่งเราจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ของการออกแบบ (Design requirement) หรือกระบวนการทำงานของเรา

หลักการวิเคราะห์ค่า Tolerance Stack Up ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่

บางวิธีอาจจะใช้การคำนวณด้วยเครื่องคิดเลขธรรมดาได้ บางวิธีอาจจะต้องใช้ Excel ช่วยคำนวณ บางวิธีอาจจะต้องใช้ Software เฉพาะงานมาช่วยวิเคราะห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของชิ้นงานและค่าความแม่นยำที่เราต้องการ

สำหรับหลักสูตรของ NEXTPERT เรื่องการวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสม จะสอนพื้นฐานการวิเคราะห์ 1D analysis จาก MS Excel หรือ Google sheet ด้วยการวิเคราะห์แบบ (1) Worst Case (2) RSS (3) Modified RSS และ (4) Six Sigma เท่านั้นครับ

ดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่ Methodology for Tolerance Stack Up Analysis