Tolerance Stack Up Analysis

การวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสม

เราเคยมีประสบการณ์นี้ไหมครับ ที่ต้องมาแก้ไขขนาดของชิ้นส่วนที่ "ประกอบไม่ได้” บางชิ้นส่วน เพื่อที่จะส่งงานลูกค้าได้ทันเวลา

แต่ชิ้นส่วนที่กูกแก้ไขเหล่านั้น ผ่านการตรวจสอบจากฝ่ายควบคุมคุณภาพมาแล้ว และผลการตรวจสอบ คือ “Accept”

เคยไหมครับ ที่คำถามหนึ่งแว๊บขึ้นมาในหัว “ถ้าชิ้นส่วนตรวจวัดแล้วผ่าน ทำไมยังประกอบไม่เข้า”

คำตอบหนึ่งก็คือ ชิ้นงานไม่ได้มีการวิเคราะห์ Stack Up Tolerance ก่อนทำการผลิตจริง

… แล้ว Stack Up Tolerance มันคืออะไร และมีความสำคัญต่อการผลิตอย่างไร

การวิเคราะห์ Tolerance Stack Up Analysis สามารถทำได้ตั้งแต่การคำนวณด้วย ”เครื่องคิดเลข” การสร้าง Template และคำนวณด้วย “Spreadsheet” (MS Excel หรือ Google Sheet) หรือการคำนวณด้วย “ซอร์ฟแวร์เฉพาะทาง” สำหรับงาน Tolerance Analysis

และไม่ว่าจะเป็นการคำนวณด้วยวิธีไหน สิ่งแรกที่เราต้องทำความเข้าใจคือ การวิเคราะห์ขนาดและ GD&T ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของชิ้นงาน เพราะการวิเคราะห์ที่ไม่ถูกต้องจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องเช่นกัน

ถ้าเรามีความจำเป็นต้องใช้การวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสมในการทำงาน ทาง NEXTPERT ก็มีการบริการในหลักสูตรอบรมนี้ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์ https://www.nextpert.co.th/training-course/tolerance-stack-up