Fundamental rules

กฎเกณฑ์พื้นฐาน

สิ่งไหนที่ทำให้เราทำงานผิดพลาดมากกว่ากันระหว่าง “มีเงื่อนไขที่เขียนในแบบงานอย่างชัดเจน ...แต่เราตีความผิดพลาด” กับ “มีเงื่อนไขที่ไม่ได้เขียนในแบบงานและต้องควบคุม ...แต่เราไม่รู้ว่ามี”

สำหรับผม ถ้าชิ้นงานเกิดข้อผิดพลาดจากอะไรก็ตาม มันเจ็บทั้งคู่ แต่เจ็บจากเรื่องพื้นฐานอาจจะเจ็บพร้อมเสียหน้าเล็กๆ ว่าเรื่องแค่นี้ไม่น่าพลาด!!!

-----

เงื่อนไขที่ไม่ได้เขียนในแบบงานแต่ต้องมีการควบคุม เรามักจะเรียกมันว่า “กฎเกณฑ์พื้นฐาน” ซึ่งจริงๆแล้วกฎเกณฑ์พื้นฐานในเรื่อง GD&T จะมีอยู่ไม่มาก แต่กฎเกณฑ์ไม่กี่ข้อนั้นกลับสร้างความผิดพลาดในการทำงานแบบคาดไม่ถึงอยู่บ่อยครั้ง 

กฎเกณฑ์พื้นฐานในเรื่อง GD&T สามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มๆ เช่น

ขอยกตัวอย่างกฎเกณฑ์พื้นฐานมาซัก 2 ข้อนะครับ เพื่อให้เราเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นว่า “สิ่งที่ไม่ได้เขียนลงไปในแบบงานแต่ต้องควบคุม” เป็นอย่างไร 

ข้อแรก “ถ้าไม่ระบุเงื่อนไขพิเศษลงไปในแบบงาน ขนาดที่กำหนดในแบบงานจะเป็นขนาดที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส” ซึ่งผมเชื่อว่าหลายๆ คนรู้จักกฎเกณฑ์ข้อนี้และถือเป็นกฎเกณฑ์พื้นฐานที่ทำให้ห้อง QC จำเป็นต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ ...และแน่นอนครับว่าไม่มีข้อความนี้ในแบบงานแน่นอน แต่ต้องควบคุมเพราะมันคือกฎเกณฑ์พื้นฐาน

อีกซักข้อนะครับ “ถ้าไม่ระบุเงื่อนไขพิเศษลงไปในแบบงาน ขนาดที่กำหนดในแบบงานจะเป็นขนาดในสภาวะที่ไม่มีแรงกดมากระทำกับชิ้นงาน (Free State Condition)” ซึ่งกฎเกณฑ์พื้นฐานข้อนี้จะส่งผลถึงการกำหนดกลยุทธ์การตรวจสอบ ด้วยการเลือกเครื่องมือวัดและวิธีการวัดงานที่ไม่ก่อให้เกิดแรงวัดกับชิ้นงานจนทำให้ชิ้นงานเปลี่นรูปในขณะที่ทำการวัด 

ส่วนกฎเกณฑ์พื้นฐานข้ออื่นๆ ผมจะค่อยๆ อธิบายไปตามโอกาสและจังหวะที่มีนะครับ

-----

สุดท้าย ผมมีคำถามมาให้ขบคิดเหมือนเช่นเคย “ถ้าขนาดในแบบงานเป็นขนาดที่ไม่มีแรงกดมากระทำกับชิ้นงานและเป็นขนาดที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส” การตรวจสอบขนาดด้วยวิธี VOM (Verify on Machine) บนเครื่อง CNC ในขณะที่ชิ้นงานยังถูกจับยึดอยู่บน Machining Fixture และอุณหภูมิในฝ่ายผลิตไม่ใช่ 20 องศาเซลเซียส ค่าวัดของชิ้นงานที่ได้จะมีความเชื่อมั่นได้มากน้อยแค่ไหนและเราควรจะเอาค่าที่วัดได้ไปวิเคราะห์ต่อไหม ถ้าจะไปต่อต่อควรจะวิเคราะห์อย่างไร

คำตอบในเชิงวิศวกรรม จะอยู่ในหลักสูตร GD&T for Production ของ NEXTPERT ครับ