Statistical Tolerance Stack Up

ค่าความคลาดเคลื่อนสะสมเชิงสถิติ

ถ้าเราเอาชิ้นงานที่มีความหนา 10 +/-0.1 mm. วางซ้อนกัน 6 ชั้น ความสูงรวมทั้งหมดก็คือ 60 mm. ซึ่งจะมีค่า Tolerance รวม +/- 0.6 นี้เป็นวิธีวิเคราะห์แบบ Arithmetic Stack Analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ในเงื่อนไขที่ "เลวร้ายที่สุด"

แต่ “ความจริง” ในการเอาชิ้นงานที่ “ผลิตได้จริง” มาประกอบจริงๆ เป็นอย่างนั้นหรือไม่

-----

จะตอบคำถามข้างต้น เราจะวิธีการวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสม (Tolerance Stack Up Analysis) แบบ “การวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสมเชิงสถิติ (Statistical Stack Analysis)”

การวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสมเชิงตัวเลข เป็นการใช้ค่ามากที่สุด (Maximum Value) และค่าน้อยที่สุด (Minimum Value) ของขนาดและค่าความคลาดเคลื่อนมาวิเคราะห์บนพื้นฐาน “เงื่อนไข” บางอย่างที่ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์มีค่า “ใกล้เคียง” กับการประกอบจริงมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้วิธี Root Sum Square (RSS) หรือการใช้วิธี Monte-Carlo มาฝช้ในการวิเคราะห์ 

ข้อดีของการวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสมเชิงสถิติ คือ ผลลัพธ์ที่ได้จะใกล้ความเป็นจริงมากกว่าการวิเคราะห์เชิงตัวเลข แต่ก็จะมีข้อจำกัด คือ สมการที่ใช้ในการวิเคราะห์อาจจะมีความซับซ้อน ทำให้บางครั้งต้องใช้โปรแกรมเฉพาะทางมาช่วยวิเคราะห์ ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะมีราคาค่อนข้างสูง

-----

เราจะเลือกการวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสมเชิงตัวเลขหรือเชิงสถิติ ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการความแม่นยำในคำตอบแค่ไหน

และเราจะเลือกการวิเคราะห์ด้วยการคิดคำนวณด้วยตัวเองหรือใช้โปรแกรมช่วยวิเคราะห์ ก็ขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าระหว่างความแม่นยำของคำตอบกับต้นทุนที่ได้จ่ายไป