Tolerance Analysis

การวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อน

GD&T ย่อมาจาก Geometric Dimensioning and Tolerancing

เราคิดว่าอะไรสำคัญที่สุดระหว่างรูปทรง (Geometry) ขนาด (Dimension) หรือความคลาดเคลื่อน (Tolerance)

-----

การทำงานในระดับการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) จะให้ความสำคัญกับรูปทรงและขนาดเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นส่วนของความสวยงามและความต้องการ เมื่อมาถึงระดับการออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) ก็จะมีส่วนของความคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นมาซึ่งเป็นส่วนที่สะท้อนคุณภาพของชิ้นงานและความยากง่ายในกระบวนการผลิต 

การทำงานกับความคลาดเคลื่อนจะมีอยู่ 2 ระดับ คือ ระดับของการกำหนดและออกแบบค่าความคลาดเคลื่อน (Tolerance Design) และระดับของการวิเคราะห์และนำค่าความคลาดเคลื่อนนั้นไปใช้งาน (Tolerance Analysis) ทั้งการวิเคราะห์เพื่อผลิตและการตรวจสอบ 

เรามักจะรู้จักการกำหนดและการออกแบบค่าความคลาดเคลื่อนในชื่อของ “ทฤษฎีการจัดสรรค่าความคลาดเคลื่อน” (Tolerance Allocated) ซึ่งทฤษฎีที่นิยมใช้ในการทำงาน ได้แก่ 

และเราจะรู้จักการวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนเพื่อนำไปใช้งานในชื่อของ “การวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนสะสม” (Tolerance Stack Up) ซึ่งรูปแบบของการวิเคราะห์ที่นิยมใช้ในการทำงาน ได้แก่ 

การออกแบบหรือการวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนให้ได้ดีนั้น จะต้องมีความรู้พื้นฐานมาก มีความเข้าใจในชิ้นงานสูง รวมทั้งลักษณะของการวิเคราะห์จะมีความเป็นทฤษฎี สูตร สมการค่อนข้างมาก ดังนั้นในบางครั้งการออกแบบหรือวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนจึงจำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะทางเข้ามาช่วยวิเคราะห์

แต่ผู้ใช้งานก็ยังมีความจำเป็นต้องรู้ในพื้นฐานของหลักการออกแบบและวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนซึ่งทาง NEXTPERT ได้มีหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ด้านการออกแบบและวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อน ได้แก่ หลักสูตร Tolerance Stack Up Analysis และหลักสูตร Tolerance Allocated

-----

ถ้าเราต้องการผลิตชิ้นงานให้ได้คุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม และต้นทุนในการทำงานต่ำที่สุด เราก็หนีไม่พ้นเรื่องการหาความรู้ในเรื่องของ “ค่าความคลาดเคลื่อน”

… ลองเช็คความเข้าใจเรื่องนี้กันครับ เราจะอธิบายค่าของขนาดเพลา Dia.20 ในแบบงานว่าอย่างไร