geometry dimension

ขนาดด้านรูปทรง

ขนาด (Dimension) คือ  ตัวเลข (Number) หรือสมการคณิตศาสตร์ (Formula) ที่มีการระบุหน่วย (Unit) ในการทำงานที่ชัดเจน เพื่อใช้ในการบ่งบอกคุณลักษณะของรูปทรง (Form) ทิศทาง (Orientation) ตำแหน่ง (Location) หรือระยะด้านมิติ (Size)

ผมแบ่งขนาดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือขนาดด้านมิติ (Size dimension) และขนาดด้านรูปทรง (Geometry dimension) เพราะเมื่อผมเริ่มอธิบายเชิงลึก ทั้งสองกลุ่นนี้จะมีความแตกต่างในรายละเอียดค่อนข้างมากครับ ซึ่งในบทความที่แล้วผมพูดถึงขนาดด้านมิติในเบื้องต้นแล้วว่ามีขนาดอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาคุยเรื่องของขนาดด้านรูปร่างรูปทรงกันบ้าง

ขนาดด้านรูปร่างรูปทรง เป็นส่วนหนึ่งของ GD&T เท่านั้น แต่เรื่องของการควบคุมรูปร่างรูปทรงเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสนใจมากที่สุด และการแปลความหมายสัญลักษณ์การควบคุมรูปร่างรูปทรงเป็นจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ ออกแบบ และวางแผนการผลิตชิ้นงานในส่วนต่างๆ 

ขนาดด้านรูปร่างรูปทรงมีทั้งสิ้น 14 สัญลักษณ์ สามารถแบ่งกลุ่มได้ตามลักษณะของการควบคุม ตามลักษณะของการควบคุมและระดับการควบคุมระดับความเป็นอิสระ (Degree of Freedom) ของขอบเขตความคลาดเคลื่อน บางตำราก็แบ่งเป็น 4 กลุ่ม บางตำราก็แบ่งเป็น 5 กลุ่ม แต่ผมขอแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มตามลักษณะของการใช้งาน ได้แก่ 

การกำหนดขนาดด้านรูปร่างรูปทรงในแบบงาน มีจุดประสงค์เพื่อสื่อสารความต้องการด้านเงื่อนไขการประกอบ การใช้งานให้ชัดเจน ลดความคลุมเครือในการแปลความหมาย ทำให้ผู้ผลิตสามารถออกแบบกลยุทธ์การทำงานได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นถ้าเราเห็นสัญลักษณ์ GD&T ในแบบงานและรู้สึกว่ามันซับซ้อน ทำให้เราทำงานยาก ต้นทุนการทำงานสูง ฯลฯ ปัญหานี้มักจะเกิดจาก 2 สาเหตุครับ คือ หนึ่งการกำหนดขนาดไม่ตรงกับเงื่อนไขการประกอบการใช้งาน และสอง เราแปลความหมายสัญลักษณ์ GD&T เพื่อการทำงานไม่ได้ครับ 

วันนี้ เราลองพิจารณาแบบงานที่มีอยู่ในมือของเราแล้วถามคำถามในใจเป็นข้อๆ ดังนี้ครับว่า “สัญลักษณ์ที่เห็นแบบงานชื่อว่าอะไร แปลความหมายว่าอะไร การออกแบบวิธีการผลิตอย่างไรเพื่อให้ได้ค่าตามแบบ จะออกแบบวิธีการตรวจสอบได้อย่างไร และสัญลักษณ์ที่เห็นกำหนดมาตรงเงื่อนไขการประกอบหรือไม่”