title block

กรอบและข้อกำหนดทั่วไป

เมื่อพูดถึงแบบงานเครื่องกล เราจะนึกถึงอะไรเป็นภาพแรก?

แน่นอนครับว่าภาพแรกที่เรานึกถึงคือ กรอบกระดาษที่มีรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ และเอกลักษณ์ที่ว่านั้นคือกรอบพื้นที่การทำงานที่มีการกำหนดพิกัดอ้างอิง (Grid coordinate) และกรอบข้อกำหนดทั่วไป (Title block)

กรอบจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตของพื้นที่การเขียนแบบ ส่วน Grid coordinate เป็นระบบพิกัดอ้างอิงของตำแหน่งต่างๆ ของขนาดแบบงาน สำหรับการเขียนแบบบนกระดาษขนาดเล็กอย่าง A4 หรือ A3 อาจจะไม่ค่อยถูกใช้งาน แต่ถ้าเป็นการเขียนแบบบนกระดาษที่ใหญ่ขึ้น เช่น A2 A1 A0 การอ้างอิงว่าเรากำลังพิจารณาขนาด สัญลักษณ์ รูปร่าง อะไรอยู่ อาจจะจำเป็นต้องใช้การบอกตำแหน่งด้วย Grid coordinate

ส่วน Title block โดยปกติจะอยู่ทางขวาหรืออยู่ด้านล่างของแบบงาน โดย Title block จะเป็นส่วนที่บอกข้อมูล ข้อกำหนดทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับแบบงานและการทำงาน เช่น โลโก้และข้อลิขสิทธิ รายละเอียดของชิ้นงาน ชื่อผู้รับผิดชอบในส่วนต่างๆ ข้อมูลของวัสดุชิ้นงาน มาตรฐานที่ใช้ในการเขียนแบบ ค่าพิกัดความคลาดเคลื่อนทั่วไป ฯลฯ 

นี้คือเรื่องที่ 2 ที่เริ่มขยับเข้าใกล้ GD&T ขึ้นมาอีกนิด ปกติแล้วถ้าเราทำงานจนเกิดความเคยชิน เรามักจะไม่ค่อยได้พิจารณากรอบข้อกำหนดทั่วไปมากนัก แต่เมื่อไหร่ที่เราหาคำตอบการทำงานบางอย่างไม่เจอ เราก็มักจะมีคำถามถามกับตัวเองว่า  “ใน Title block มีคำอธิบายหรือเปล่า?”